กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
ส่งเสริม สนับสนุนศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )ความดัน เบาหวานเชิงรุก รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
รพ.สต.บ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการเฝ้าระวัง นอกจากอุบัติเหตุและโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหา และการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยถือว่า สุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด
ข้อมูลการขึ้นทะเบียนรายใหม่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 5ปีย้อนหลัง ปี2561 จำนวน 122 ราย ปี 2562 จำนวน 109 รายปี2563 จำนวน 101 ราย ปี 2564 จำนวน 82 ราย ปี 2565 จำนวน 75 ราย ปี 2566 ความดันรายใหม่ จำนวน 66 ราย เบาหวานรายใหม่ 24 ราย จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในเมืองทั้งหมด ความดันโลหิตสูง 775 ราย เบาหวาน 343 ราย รับยารพ.สต.บ้านในเมือง334 ราย รับยา รพ.ละงู 784 ราย จำนวนผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จำนวน 33 ราย เสียชีวิต 5 รายเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 5 ราย (ปีงบประมาณ 2566)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพจากการป่วยในระดับตำบล จึงได้นำนโยบายด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดด้านสุขภาพแก่ประชาชนในเขตความรับผิดชอบ และได้เห็นความสำคัญถึงการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริม สนับสนุนศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )ความดัน เบาหวานเชิงรุก รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องการเฝ้าระวังภัยสุขภาพในชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์ ค้นหา คัดกรองสุขภาพประชาชน การเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การเข้าถึงการบริการของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน การให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและการสร้างทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและตรวจสุขภาพประชาชนตั้งแต่ อายุ 35 ปีขึ้นไป 6 ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในเมืองทั้งหมด 3,180 คน เข้ารับการตรวจคัดกรอง 900 คนซึ่งประกอบด้วย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง วัยทำงาน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสร้างทีมงานเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งในการเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค พร้อมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ที่จะส่งผลต่อการลดอุบัติการณ์เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ในอนาคต และทาง รพ.สต.บ้านในเมืองจึงส่งเสริม สนับสนุนให้มีศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรับบริการที่สะดวก สบาย ลดความแออัด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และประะชาชนเกิดความตระหนักรู้สู่การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) เพื่อขับเคลื่อนสุขภาพของคนในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน
    ตัวชี้วัด : ศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) ด้านสุขภาพ 6 หมู่บ้าน โดยมีการขับเคลื่อนของเครือข่ายในชุมชน
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการจัดการระบบการเข้าถึงการรักษา
    ตัวชี้วัด : ประชาชนที่มีอายุ35 ปีขึ้นไป/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (กลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2567 ทั้งหมด 3.180 คน เป้าหมายการคัดกรอง 900 คน)
    ขนาดปัญหา 28.30 เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามรูปแบบ 3 อ 2 ส
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคอ้วน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีความรู้เพิ่มขึ้น มีคะแนนวัดวามรู้ 8/10 คะแนน
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุนให้ศูนย์มีบริการสุขภาพในชุมชน (health station check)และมีคณะทำงานเครือข่ายในชุมชน
    รายละเอียด

    1.ส่งเสริม สนับสนุนให้มีศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )และมอบอุปกรณ์ในการดำเนินงานภายในศูนย์ให้บริการ health station ในพื้นที่ หมู่บ้านละ 1แห่ง เพื่อความสะดวกในการรับริการและการเข้าถึงการบริการอย่างรวดเร็ว -จัดซื้อเครื่องวัดวามดัน จำนวน 6 เครื่อง เครื่องละ 2,000บาท เป็นเงิน 12,000 บาท -เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 6 เครื่อง เครื่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท -สายวัดรอบเอว BMI ดัชนีมวลกาย จำนวน 6 อัน อันละ 100 บาท เป็นเงิน 600 บาท -แผ่นป้ายวัดส่วนสูง จำนวน 6 แผ่น แผ่นละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท -ป้ายไวนิลให้ความรู้แนวทางในการคัดกรอง การแปลผล/สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในชุมชน ขนาด100200 เซ็นติเมตร ราคา 300 บาท จำนวน 12 แผ่น เป็นเงิน 3,600 บาท -ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 120240 เซ็นติเมตร ราคา 450บาทเป็นเงิน 450 บาท -ป้ายไวนิลศูนย์บริการ health station ขนาด 60*120 เซ็นเมตร ราคา 150 บาท จำนวน 6 แผ่น เป็นเงิน 900บาท รวมทั้งสิ้น 24,450 บาท 2.ประชุมคณะทำงานเครือข่ายในชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ วางแผนการดำเนินงาน ถอดบทเรียนเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คืนข้อมูลสถานการณ์โรคการให้บริการเชิกรุก ค้นหาผุ้ป่วยรายใหม่และจัดให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการ health station โดยมีคณะทำงานในชุมชนร่วมด้วย หมู่ละ 10 คน จำนวน 6 หมู่บ้าน รวม 60 คน (ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 60 คน เป็นเงิน 1,800 บาท

    งบประมาณ 26,250.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง รณรงค์ สร้างความตระหนัก
    รายละเอียด

    ประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง (ตรวจวัดความโลหิต เจาะหาระดับน้ำตาลในเลือด คำนวณดัชนีมวลกาย กลุ่มเสี่ยงในชุมชน 6 หมู่บ้าน หมู่ละ 100-150 คน
    --ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 900 คน เป็นเงิน 27,000บาท

    งบประมาณ 27,000.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 อบรม/ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจจำนวน 50 คน กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย วิทยากร : แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทีมสหวิชาชีพ และผู้รับผิดชอบคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    รายละเอียด

    อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ได้จากการคัดกรองในหมู่บ้าน จำนวน 50 คน - ค่าอาหารกลางวัน 80 บาทx 50 คน เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาทx 2 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน3,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม.x 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 10,600บาท

    งบประมาณ 10,600.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 ประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำหลังการเข้าร่วมอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.
    รายละเอียด

    1-2 เดือน หลังจากอบรม 1 ครั้ง มีการติดตามและประเมินระดับความดันโลหิต/น้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยแกนนำด้านสุขภาพในชุมชนและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 3,4,6,12,15,17 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 63,850.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.มีศูนย์บริการสุขภาพ( Health Station check ) ในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการสุขภาพส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 3. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักรู้และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูและจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 63,850.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................