กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) หมู่ที่11 บ้านกำปงตือเง๊าะ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) หมู่ที่11 บ้านกำปงตือเง๊าะ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านกำปงตือเง๊าะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและมะเร็ง กลายเป็นภัยระบาดเงียบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ ที่สามารถทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เช่น หัวใจวาย ไตวาย เส้นเลือดในสมองตีบแตกเกิดอัมพาต และประสาทตาเสื่อมมัว โรคเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการทานยาตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างมหาศาล จึงทำให้ประเทศต้องมีนโยบายในการป้องกันควบคุมโรคเหล่านี้ โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยงในประชากรไทย
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกรรมพันธุ์อายุและปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่นความอ้วน , ความเครียด , ขาดการออกกำลังกาย , การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วนการดื่มสุราสูบบุหรี่ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าวร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้นคือ๓๕ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิตหรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
ซึ่งจากข้อมูลสุขภาพ การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ รพ.สต.บ้านบาโงยบาแด ม.1,ม.2,ม.5,ม.8 และม.11 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ประชานชนที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน มีน้ำตาลปกติ ร้อยละ 75.05 เสี่ยง ร้อยละ 20.15 สงสัยป่วย ร้อยละ 4.80 และป่วยเป็นโรค รายใหม่ จำนวน 63 รายและประชาชนที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปกติ ร้อยละ 79.02 เสี่ยง
ร้อยละ 18.05 สงสัยป่วย ร้อยละ 2.93 และป่วยเป็นโรค รายใหม่ จำนวน 53 รายดังนั้น หากประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ ปฏิบัติตัวยังไม่ถูกต้อง หรือขาดความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และขาดความรอบรู้/ตระหนัก ในการจัดการพฤติกรรมสุขภาวะตนเองแล้ว จะส่งผลให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
ประกอบกับประชาชน ยังขาดการเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพ และขาดการจัดการสุขภาพของชุมชนโดยชุมชนเองในการดูแลหรือบริการอย่างต่อเนื่องและใกล้บ้านใกล้ใจ ไม่ว่าจะเป็น จุด/สถานที่ให้บริการหรือร่วมจัดการด้านสุขภาพในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านกำปงบูเกะ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนต้นแบบจัดการสุขภาพห่างไกลโรค NCD ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ใกล้บ้านใกล้ใจ และสามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองได้เบื้องต้น มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วย มีความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพในการบริการและจัดการด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วยสามารถเข้าถึงระบบบริการของชุมชนโดยชุมชน

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมการเกิดกลไกจัดการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นแบบห่างไกลโรค NCD

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในชุมชน จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในชุมชน จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 50 คน × 35 บาท × 2 มื้อ )    เป็นเงิน    3,500.-    บาท -ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 50 คน ×  75  บาท × 1 มื้อ)        เป็นเงิน    3,750.- บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 3 ชั่วโมง × ชั่วโมงๆละ 500 บาท)    เป็นเงิน    1,500.-    บาท -ค่าไม้พลอง (จำนวน  100 อัน x 50 บาท)              เป็นเงิน   5,000.- บาท -ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน ขนาด 1 x 2.5 เมตร        เป็นเงิน    750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วย และจัดตั้งระบบการดูแลผู้ป่วย NCD “Health station” (สถานีสุขภาพ) ในชุมชนโดยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วย และจัดตั้งระบบการดูแลผู้ป่วย NCD “Health station” (สถานีสุขภาพ) ในชุมชนโดยชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (เช่น โต๊ะพับได้ เก้าอี้พลาสติก)          เป็นเงิน    5,500.-    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการติดตามประเมินผล ทุก 3 เดือน เป็นจำนวน 4 ครั้ง/ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการติดตามประเมินผล ทุก 3 เดือน เป็นจำนวน 4 ครั้ง/ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม้ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วย มีความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 80
2. พัฒนาและยกระดับศักยภาพการบริการและจัดการด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วยสามารถเข้าถึงระบบบริการของชุมชนโดยชุมชน
3. เกิดกลไกจัดการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นแบบห่างไกลโรค NCD


>