กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาสมัครเสริมสร้างความรู้ผู้ปกครองเด็กทุพโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพสต.มะนังดาลำ

1.นางสาวหัมดียะห์ อีแตฮะ
2.นางนุรลีดา แยนา
3.นางสาวยาวาเฮ วาเลาะ
4.นางสาวรอกีเยาะ มะแซ
5นางสาวฟาติน สาแม

ในชุมชน ตำบลมะนังดาลำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยที่มีความสำคัญในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเด็กปฐมวัย เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้อง ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กปฐมวัย ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 0 – 4 ปี ในพื้นที่ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง
จากสถานการณ์ด้านภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก โดยร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนในปี 2566 ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66 ซึ่งจังหวัดปัตตานี จากฐานข้อมูล HDC ไตรมาสที่ 3 (ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2566) สูงดีสมส่วนของภาพรวมจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 62.16, อำเภอสายบุรี สูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 56.34 อยู่ในลำดับที่ 7 ของจังหวัดปัตตานี ที่มีอัตราสูงดีสมส่วนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จากข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0-4 ปี ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.มะนังดาลำ พบว่าร้อยละของเด็กอายุ 0-4 ปี สูงดีสมส่วน เกณฑ์เป้าหมายปี 2563-2565 ร้อยละ 60, 62 และ 64 ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-4 ปี ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต. มะนังดาลำ ปี 2563-2565
ร้อยละ 55.20, 54.17 และ 51.33 ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีภาวะโภชนาการไม่ผ่านเกณฑ์
ในฐานะอาสาสมัครสาธารณสุข ถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานในพื้นที่ เพราะเป็นหมอครอบครัวคนที่ 1 ด่านแรกที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน ในการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการขึ้นมา เพื่อให้ความรู้และการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในเด็กปฐมวัยอายุ 0 - 4 ปี ให้ผู้ปกครอง พัฒนาศักยภาพด้าน โภชนาการใน รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เช่น 1.ความรู้ด้านการประเมินแปลผลการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของเด็ก 2. ความรู้การประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ในการปรับเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัย
3. ความรู้เรื่องศาสตร์แพทย์แผนไทย เช่น มณีเวชในเด็กเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร
4.ความรู้เรื่องการตรวจร่างกายเบื้องต้น สังเกตความผิดปกติของเด็ก และแนวทางการส่งต่อเมื่อพบเด็กที่มีความผิดปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้กราฟแสดงภาวะการเจริญเติบโต 2.เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะในการจัดเมนูอาหารหมุนเวียนได้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัย
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้กราฟแสดงภาวะการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย 0 – 4 ปี ร้อยละ 80
  2. เพื่อให้เด็กปฐมวัย 0 - 4 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุเพิ่มขึ้น ร้อยละ  1
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ๒.อบรมเชิงปฏิบัติการ(รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ)

ชื่อกิจกรรม
๑.ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ๒.อบรมเชิงปฏิบัติการ(รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ         จัดขึ้นเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ รับทราบแนวทางการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ และเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ให้กับ อสม.ผู้นำชุมชนและจนท.
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการ(รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ) เป็นฐานทั้งหมด 4  ฐาน 2.1 ฐานประเมินวิเคราะห์แปลผลการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของเด็ก 2.2. ฐานศาสตร์ของอาหารในการปรับเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัยโดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในพื้นที่ 2.3 ฐานศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการนวดมณีเวช 2.4 ฐานเคลื่อนที่เร็ว ส่งต่อเร็วให้ถูกวิธี วัดความรู้และประเมินทักษะหลังการอบรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดืมจำนวน 60 คน x 25 บาท = 1,50๐ บาท  เป็นเงิน 1,50๐ บาท  ค่าวิทยากร จำนวน 4 คน x ๖ ชม. x ๖๐๐ บาท = 14,4๐๐ บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 70 บาท= 7,000 บาท   ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ5,0๐๐ บาท  ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 x 250 บาท ต่อตารางเมตร = 720 บาท  - ค่าเอกสารสำหรับการอบรม 100 ชุด x 30 บาท  เป็นเงิน 2,300 บาท   - ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดอบรม   เป็นเงิน 3,000 บาท เป็นเงิน 32,420 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น...33,920......บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครอง มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีทักษะเรื่องโภชนาการในเด็ก 0-4 ปี เช่น การแปลผลกราฟชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง การคำนวณสารอาหารที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละวัน และปรับเมนูอาหารได้เหมาะสมตามวัยโดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในพื้น ส่งผลทำให้ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ และเด็กมีแนวโน้มของภาวะโภชนาการดีขึ้นหลังดำเนินการ นำสู่การสร้างผู้ปกครองต้นแบบ ที่สามารถเป็นแบบอย่างและส่งต่อความรู้ให้คนในชุมชนต่อไปได้


>