กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาครอบครัวห่างไกลยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

องค์กรสตรีตำบลเปาะเส้ง

อาคารอเนคประสงค์ หมู่ที่ 1 เปาะเส้ง ตำบลเปาะเส้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ครอบครัวในปัจจุบันที่มีสภาพสังคมเศรษฐกิจสิ่งแวดลอ้มเปลี่ยนแปลงตาม กระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ส่งผลกระทบแผนการ ดำเนินชีวิตของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป การแพร่ระบาดของยาเสพติดที่สำคัญมาจากปัจจัยครอบครัวเช่นครอบครัวแตกแยก หย่าร้างการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีบุคคลในครอบครัว เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งแทบจะทุกครอบครัวที่มีผู้ติดยาเสพติด ทำให้เกิดปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่อีกมากมายดังนั้น สตรีมีส่วนสำคัญในฐานะบทบาทของแม่ที่จะต้องเฝ้าระวังและให้ความรักความเข้าใจเป็นเกราะกำแพงการเสพและการค้ายาเสพติดโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่เสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จะช่วยให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างยั่งยืนและสร้างให้ครอบครัวเป็นสุข ชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของครอบครัว ความรัก การเอาใจใส่ที่ดีจะช่วยให้สมาชิกครอบครัวไม่เข้าไปยุ่งกับยาเสพติด
2.เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวตระหนักรู้ถึงปัญหายาเสพติด
3.เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรู้ถึงทักษะการปฏิเสธ
4.เพื่อให้ครอบครัวในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดูแลสมาชิกในครอบครัวและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรบให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรบให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเปาะเส้ง จำนวน 16,300 บาท รายละเอียดดังนี้ - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน1,125 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คน ๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท - ค่าปากกา จำนวน 60 ด้ามๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท - ปากกาเคมี 15 แท่งๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท - กระดาษชารจ์ 35 แผ่นๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 700 บาท ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวและผลกระทบในเรื่องยาเสพติด
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาเสพติด และทักษะในการปฏิเสธเพื่อหลีกเลี่ยงยาเสพติด
3. สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเพิ่มเติมไปปรับใช้ในครอบครัวเพื่อป้องกัน ไม่ให้สมาชิกในครอบครัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้
4. สามารถสร้างเครือข่ายครอบครัวในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน


>