2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การมองเห็นที่ชัดเจนของสายตาเป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กๆ เพราะเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาสายตาบกพร่องและส่วนหนึ่งไม่ได้รับการแก้ไข จากการศึกษาของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) การคัดกรองเด็กนักเรียนอนุบาลและประถมศึกษา พบว่ามีความผิดปกติร้อยละ 11.4 และวินิจฉัยยืนยันมีภาวะสายตาผิดปกติถึงร้อยละ 6.6 โดยมีประมาณร้อยละ 4.1 จำเป็นต้องใช้แว่นตา แต่มีเด็กส่วนหนึ่งไม่มีแว่นตาใช้จนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อคุณภาพประชากรของประเทศในอนาคตได้ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตระหนักต่อปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ให้เด็กไทยอายุ 3-12 ปี มีสิทธิได้รับการตรวจคัดกรองสายตา หากจักษุแพทย์ตรวจยืนยันมีภาวะสายตาผิดปกติจะได้รับการแก้ไขสปสช.จึงได้กำหนดเพิ่มเติมให้ “บริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ” เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ในปี 2564 และสนับสนุนค่าแว่นตาให้หน่วยบริการที่ตรวจวัดสายตาและจัดหาแว่นตาให้แก่เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ ในปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นมาโดยเน้นการคัดกรองสายตาเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1โดยครูจะทำหน้าที่คัดกรองสายตาเบื้องต้นและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก รพ.สต.หรือโรงพยาบาลตรวจคัดกรองนักเรียนที่ครูพบผิดปกติซ้ำ จากนั้นจึงส่งต่อไปที่โรงพยาบาล (รพช./รพท./รพศ.) ที่มีจักษุแพทย์และหน่วย Refraction Unit เพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยัน วัดค่าสายตา พร้อมสั่งตัดและจัดหาแว่นตาให้ สำหรับเด็กนักเรียนชั้นอื่น เช่น ชั้นอนุบาล และ ป.2-ป.6 หากครูสงสัยว่าอาจมีสายตาผิดปกติ ก็เข้าสู่ระบบการตรวจคัดกรองและมีสิทธิได้รับแว่นตา นอกจากนั้นถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกหลานตนเองมีสายตาผิดปกติ เช่น อ่านหนังสือชิดตามากผิดปกติ หรี่ตาหรือทำตาหยีเมื่อเพ่งมอง เป็นต้น ก็สามารถพาลูกหลานไปรับการตรวจคัดกรองสายตาได้ที่ รพ.สต./โรงพยาบาล หากผิดปกติจะได้รับการส่งต่อไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันได้เช่นกัน
ทั้งนี้ตำบลทุ่งตำเสามีสถานศึกษาทั้งในสังกัดของเทศบาลและสังกัด สพฐ.ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น จำนวน ๙ แห่ง โดยมีนักเรียนระดับอนุบาล ๑ ถึง อนุบาล ๓ รวมจำนวน ๓๙๗ คน ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑๔๘ คน ระดับประถมศึกษาปีที่ ๒ ถึง ๖ รวมจำนวน ๗๕๓ คน เพื่อให้เกิดการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของเด็กในการบริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติตามที่ สปสช.กำหนด จึงจัดทำ “โครงการทุ่งตำเสา...เด็กสายตาดี” ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?(๑) เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพสายตา
(๒) เด็กนักเรียนที่มีปัญหาค่าสายตาผิดปกติได้รับการแก้ไขโดยการสวมแว่นสายตา