กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมเยาวชนยอดนักสืบสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอควนกาหลง

1.นายเอกสิทธิ์ โอนิกะประธานองค์กร
2.นายเชาวนนท์ ทองไทย กรรมการ
3.นางสาวศรสวรรค์ ช้างอินทร์ กรรมการ
4.นางสาวเสาลักษณ์ พร้อมมูล กรรมการ
5.นางสาวนุสรา ขาวเขาใครกรรมการ
6.นางสาวกัญชลิกา องศาราครูที่ปรึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและเสริมสร้างให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยูใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี ในการเรียนรู้การดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้น ตลอดจนการรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีประโยชน์ จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง การกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบและบอกต่อวิธีการใช้ต่อคนอื่นต่อไปได้และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพแก่เพื่อนในรุ่นเดียวกัน หรือเป็นต้นแบบแก่คนในชุมชนได้ เป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยสมบูรณ์ รักสะอาด ปราศจากโรคภัย มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นำไปสู่การเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีอันจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชนในที่สุด ด้วยเหตุนี้ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอควนกาหลงจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมเยาวชนยอดนักสืบสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี การช่วยเหลือด้านสุขภาพแก่ผู้อื่น ตั้งแต่วัยเด็กอันนำไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีควสมรู้ ความเข้าใจในหลักการบริโภคอาหารปลอดภัย

เยาวชน จำนวน 40 คน มีควสมรู้ ความเข้าใจในหลักการบริโภคอาหารปลอดภัยได้

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมการเลือกบริโภคเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง

เยาวชน ร้อยละ 70 มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง

0.00
3 เด็กและเยาวชน สามารถใช้เครื่องมือในการตรวจอาหารปลอดภัยได้

เยาวชน ร้อยละ 70 สามารถใช้เครื่องมือในการตรวจอาหารปลอดภัยได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ การบริโภคอาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ การบริโภคอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 อบรมให้ความรู้ การเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารปลอดภัย

1.2 ทดสอบสารปนเปื้อนในตัวอย่างอาหาร และภาชนะสัมผัสอาหาร ดังนี้

-อบรมเชิงปฏิบัติการการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนและความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารและมือ ดังนี้

-ทดสอบยีสต์และเชื้อราในอาหารและเครื่องดื่ม (สารกันรา)

-ทดสอบความหืนของน้ำมันปรุงอาหาร

-ทดสอบไฮโปคลอไรต์ (สารฟอกขาวกลุ่มคลอรีน) ในอาหาร ทดสอบไฮโปคลอไรต์ (สารฟอกขาวกลุ่มคลอรีน) ในอาหาร

-ทดสอบยาปฏิชีวนะและสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ (สารเร่งเนื้อแดง)

-ทดสอบกรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม)

-ทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี

-ทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารและมือ

-ทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหาร (กลุ่มฟอสเฟต, คาร์บาเมต)

-ทดสอบบอแรกซ์ (ผงกรอบ) ในอาหารและสารเคมี

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร = 450 บาท

  • ค่าวิทยากร 600 บาท.x 6 ชั่วโมง = 3,600  บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 40.คน = 2,800  บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บาท.x 40 คน x 2 มื้อ = 2,800 บาท

  • ชุดทดสอบ จำนวน 9 กิจกรรม เป็นเงิน = 1,3169 บาท

  • ค่าคู่มือ/เอกสารความรู้พร้อมอุปกรณ์ (กระเป๋าเอกสาร สมุดบันทึก ปากกา) จำนวน 30 ชุดๆละ 80 บาท = -2,400 บาท

  • ค่าวัสดุอื่นๆ อาทิ ปากกาเคมี,กระดาษบรู๊ฟ      ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าตัวอย่างอาหาร  เป็นต้น = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริโภคอาหารปลอดภัย

  2. เด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง

  3. เด็กและเยาวชนสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอาหารปลอดภัยเป็นและบอกต่อได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28219.00

กิจกรรมที่ 2 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน/โครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 300 บาท = 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริโภคอาหารปลอดภัย
  2. เด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง
  3. เด็กและเยาวชนสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอาหารปลอดภัยเป็นและบอกต่อได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,819.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริโภคอาหารปลอดภัย

2. เด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง

3. เด็กและเยาวชนสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอาหารปลอดภัยเป็นและบอกต่อได้


>