กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลด แยก แลกสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญในประเทศไทย เนื่องจากปริมาณขยะมูลฝอยที่สร้างขึ้นมีมากขึ้นตามกับการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งลงในแม่น้ำ ทะเล และบริเวณที่อื่นทั่วไป และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ตามข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมด 26.95 ล้านตัน หรือ 73,836 ตัน/วัน เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ปี พ.ศ. 2566 ของกรมการปกครอง จะมีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยเฉลี่ยเท่ากับ 1.12 กิโลกรัม/คน/วัน
ตำบลทุ่งตำเสามีประชากร 17,193 คน จึงคาดว่าจะมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นเฉลี่ย 19 ตัน/วัน และจากข้อมูลการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าในชุมชนจะมีขยะอินทรีย์ร้อยละ 64 ขยะรีไซเคิลร้อยละ 30 ขยะอันตรายร้อยละ 3 และขยะทั่วไปร้อยละ 3 จากข้อมูลที่กล่าวมาในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาควรมีขยะทั่วไปที่ต้องส่งกำจัดเพียง 0.57 ตัน/วัน แต่เทศบาลเมืองทุ่งตำเสามีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดถูกต้องเฉลี่ย 7 ตัน/วัน ซึ่งมีปริมาณขยะที่ไม่ได้คัดแยกก่อนทิ้งไม่น้อยกว่า 6.5 ตัน/วัน และจากการตรวจสอบประเภทขยะของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยของเทศบาลก็พบว่าขยะที่ทิ้งจะมีขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิลปะปนมากับขยะทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยไม่ว่าจะเป็นการทิ้งขยะไม่ถูกที่ไม่ถูกต้องทำให้มีปริมาณขยะในการกำจัดสูง งบประมาณรายจ่ายก็เยอะตามมา และก่อให้เกิดปัญหาขยะในชุมชนที่มีปริมาณขยะสะสมมากเกินไป จึงควรมีการสร้างจิตสำนึกที่ดี ที่ถูกต้องในการคัดแยกขยะในครัวเรือนหรือการจัดการขยะที่ดีตั้งแต่ต้นทาง ทั้งนี้ควรจะมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบของขยะ โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและลักษณะของขยะที่สร้างขึ้นในชุมชน ซึ่งสามารถช่วยให้การบริหารจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทศบาลเมืองทุ่งตำเสาจึงเล็งเห็นความสำคัญของ “โครงการลด แยก แลกสิ่งแวดล้อม” เพื่อเป็นเน้นการลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในชุมชน โดยการใช้กลไกการแยกขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ให้เต็มที่ สร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมให้ประชาชนแยกขยะอย่างถูกต้องตามประเภท จะช่วยลดการสร้างขยะในชุมชน และส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุที่มีค่าทางเศรษฐกิจสูงและมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้เกิดการดูแลบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบในชุมชนได้อย่างยั่งยืน และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะอย่างถูกต้องตามประเภท
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7๐
0.00
2 ๒. เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบของขยะของตำบลทุ่งตำเสา

๒. มีการศึกษาองค์ประกอบขยะครบทั้ง ๔ ประเภท และมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและลักษณะของขยะที่สร้างขึ้นในชุมชน

0.00
3 ๓. เพื่อสนับสนุนให้มีชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย นำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทางและเน้นการลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในชุมชน เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป

๓. มีชุมชนนำร่อง/กลุ่ม อย่างน้อย ๑ ชุมชน/กลุ่ม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน อถล. อสม.นักเรียน 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคัดแยกขยะในครัวเรือนและการศึกษาองค์ประกอบของขยะในตำบลทุ่งตำเสา” จำนวน 1 รุ่น (100 คน)

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคัดแยกขยะในครัวเรือนและการศึกษาองค์ประกอบของขยะในตำบลทุ่งตำเสา” จำนวน 1 รุ่น (100 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม ขนาด ๑.๒๒.๔ เมตร ตารางเมตรละ ๑๕๐.-บาท จำนวน ๑ ผืน เพื่อติดตั้ง ณ สถานที่จัดกิจกรรม  432.-      ๑.๒ ค่าสมนาคุณวิทยากร (รายละเอียดตามกำหนดการอบรมที่แนบ) 
            - ภาคบรรยาย 3 ชั่วโมง
2 คน๖๐๐ บาท    3,600.-             - ภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง4 คน๖๐๐ บาท  7,200.-     ๑.๓ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร ผู้สังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (๒๕ บาท๒ มื้อ10๐ คน)    5,000.-     ๑.๔ ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร ผู้สังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (๗๐ บาท10๐ คน*๑ มื้อ)    7,000.-     ๑.๕ ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เช่น สมุด ปากกา กระดาษบรูฟ ถุงมือ ถุงดำ ฯลฯ    5,000.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28232.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อกิจกรรม
๒. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลตำบลทุ่งตำเสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.1 ประชุมคณะทำงานศูนย์เรียนรู้การจัดการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลตำบลทุ่งตำเสา     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (๒๕ บาท1 มื้อ30 คน)    

750.-     2.2 จัดซื้อจักรอุตสาหกรรมพร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 2 ตัว15,000 บาท    30,000.-     2.3 ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในศูนย์ เช่น สมุด ปากกา กระดาษ ถุงดำ ฯลฯ  3,000.-     2.4 จัดทำป้ายศูนย์การเรียนรู้การจัดการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลตำบลทุ่งตำเสา      - ป้ายอะคริลิค ขนาด 60120 ซม. จำนวน 1 ป้าย
1,500.-     2.5 ค่าจัดทำสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในชุมขน ป้ายถือ/Roll Up/Standee ฯลฯ   10,000.-     2.6 กิจกรรมเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลตำบลทุ่งตำเสา
     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (๒๕ บาท1 มื้อ100 คน)   
2,500.-       - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม ขนาด ๑.๒๒.๔ เมตร ตารางเมตรละ ๑๕๐.-บาท จำนวน ๑ ผืน เพื่อติดตั้ง ณ สถานที่จัดกิจกรรม    432.-     2.7 กิจกรรมขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้การจัดการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลตำบลทุ่งตำเสา อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จนกว่าสิ้นสุดโครงการ
     - ค่าเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30โหล
45บาท   

1,350.-      - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ครั้งละ 1,500*6 ครั้ง    9,000.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58532.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมชุมชนนำร่องในการจัดการขยะจากต้นทาง

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมชุมชนนำร่องในการจัดการขยะจากต้นทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 จัดทำเวทีเพื่อศึกษาข้อมูลและหาแนวทางเพื่อการจัดการขยะในพื้นที่ จำนวน 3 ครั้ง       - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (๒๕ บาท1 มื้อ30 คน*3ครั้ง)      

2,250.-     3.2 ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เช่น สมุด ปากกา กระดาษ ถุงดำ ฯลฯ  3,000.-     3.3 จัดทำป้ายชุมชนนำร่อง
     - ป้ายอะคริลิค ขนาด 60120 ซม. จำนวน 1 ป้าย ป้ายละ 1,500 บาท
1,500.-      - ป้ายอะคริลิค ขนาด 30
60 ซม. จำนวน 10 ป้าย ป้ายละ 500 บาท  5,000.-     3.4 กิจกรรมเปิดชุมชนนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบการจัดการขยะจากต้นทาง       - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม ขนาด ๑.๒๒.๔ เมตร ตารางเมตรละ ๑๕๐.-บาท จำนวน ๑ ผืน เพื่อติดตั้ง ณ สถานที่จัดกิจกรรม
432.-       - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (๒๕ บาท
1 มื้อ*80 คน)       2,000.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14182.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,946.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เทศบาลทุ่งตำเสามีการศึกษาองค์ประกอบของขยะในชุมชนสำหรับไว้พิจารณาในการบริหารจัดการขยะให้ถูกต้องและหมาะสม
๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องตามประเภทขยะ
3. เทศบาลทุ่งตำเสามีชุมชนนำร่องในการบริหารจัดการขยะที่ต้นทาง


>