กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตอหลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดกิจกรรมรณรงค์รักษาความสะอาด เทศบาลตำบลตอหลัง ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตอหลัง

สำนักปลัดเทศบาลตำบลตอหลัง

สำนักปลัดเทศบาลตำบลตอหลัง

เทศบาลตำบลตอหลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

1.10
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

3.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

60.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

59.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

1.10 0.90
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

60.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

3.00 3.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

59.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 44
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และอาสาสมัครรักษ์โลกเทศบาลตำบลตอหลัง (อถล.)

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และอาสาสมัครรักษ์โลกเทศบาลตำบลตอหลัง (อถล.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และอาสาสมัครรักษ์โลกเทศบาลตำบลตอหลัง (อถล.) จำนวน 44 คน เพื่อกำหนดรูปแบบ แผนการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติ วิธีการ และเกณฑ์การประกวดบ้าน “บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์”

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุม และมีแผนงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประกวดบ้านต้นแบบ“บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์”

ชื่อกิจกรรม
ประกวดบ้านต้นแบบ“บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรณรงค์บ้านสะอาด ประกวดบ้านต้นแบบ“บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์” โดยคณะกรรมการออกประเมินผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 3 หมู่บ้าน ในตำบลตอหลัง ตามแผนการประเมิน ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 3 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีครัวเรือนต้นแบบด้านการคัดแยกขยะ ในเขตเทศบาลตำบลตอหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6150.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์รณรงค์รักษาความสะอาด บ้านต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์รณรงค์รักษาความสะอาด บ้านต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ ป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์รักษาความสะอาด บ้านต้นแบบ ตามโครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ ป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์รักษาความสะอาด บ้านต้นแบบ ตามโครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์ลดมลพิษ PM2.5 และขยะอันตรายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ลดมลพิษ PM2.5 และขยะอันตรายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ลดมลพิษ และขยะอันตรายในชุมชน โดยอาสาสมัครรักษ์โลกเทศบาลตำบลตอหลัง(อถล.) เพื่อสร้างความตระหนักในการลดมลพิษในชุมชน และขยะอันตรายในชุมชน ไม่ให้เกิดมลพิษ สารอันตรายแพร่กระจายในหมู่บ้าน
1) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน มื้อละ 80 บาท จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 มื้อ                                                            เป็นเงิน  3,200 บาท   2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน มื้อละ 25 บาท จำนวน 1 วัน ๆ ละ 2 มื้อ                                              เป็นเงิน  2,000 บาท   3) ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์ขยะอันตรายในชุมชน 1 x 2 ม.(ตร.ม.ละ 300 บาท)
จำนวน 4 ผืนๆ ละ 600 บาท                                                                เป็นเงิน  2,400 บาท   4) ค่าป้ายโฟมวงกลมประชาสัมพันธ์รณรงค์ขยะอันตรายในชุมชน ศก. 45 ซม. จำนวน 2
อันๆ ละ 500 บาท                                                                                   เป็นเงิน  1,000 บาท      รวมเป็นเงิน  8,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกครัวเรือนในตำบลตอหลังมีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและลดปริมาณขยะในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

9.1 ประชาชนสามารถลด คัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง ง่ายต่อการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ และลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องส่งไปกำจัด
9.2 ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อกำจัดเศษอาหารในครัวเรือน เพราะเป็นข้อกำหนดเกณฑ์การประกวด เป็นการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง ลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปหลุมฝังกลบและลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
9.3 เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในทุกครัวเรือน ให้มีความใส่ใจต่อสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครัวเรือน และขยายผลสู่ชุมชนต่อไป
9.4 ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครรักษ์โลก และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการลด คัดแยกขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่ต้นทาง ตามนโยบายการคัดแยกขยะที่ต้นทาง “ปัตตานีจังหวัดสะอาดอย่างยั่งยืน” นำไปสู่ “ตอหลังตำบลสะอาดอย่างยั่งยืน


>