กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมหัศจรรย์ 2,500 วัน สูงดีสมส่วน ไม่ซีด ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ไอคิวเกิน 100 ตำบลห้วยกรด ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 2,500 วัน สูงดีสมส่วน ไม่ซีด ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ไอคิวเกิน 100 ตำบลห้วยกรด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

นางพรทิพย์เจียวัฒนะ และคณะ

นางพรทิพย์เจียวัฒนะ และคณะ

ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ช่วง 2,500 วันแรกของชีวิต เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงอายุ 5 ขวบ ถือเป็นช่วงเวลา "หน้าต่างโอกาสทอง" ของพัฒนาการสมอง ร่างกาย และจิตใจ เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นอย่างเหมาะสม จะส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และทักษะต่างๆ ตลอดชีวิต สถานการณ์ปัจจุบันจากข้อมูล ปี 2566 พบว่า มีภาวะสูงดี สมส่วน ร้อยละ 74.83 มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าในครั้งแรก ร้อยละ 23.9 มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 12.5 มีปัญหาฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 13.51 แสดงถึงเด็กห้วยกรดยังมีปัญหาสุขภาพและพัฒนาการอยู่บ้าง โดยในด้านโภชนาการมีภาวะเตี้ย อ้วน และผอมจะส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ด้านพัฒนาการ การที่เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า ส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิต ด้านสติปัญญา ปัญหาฟันผุ ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม การเรียนรู้ และการพัฒนาทางภาษาด้านสติปัญญาคะแนนไอคิวเฉลี่ยของเด็กชัยนาทยังต่ำกว่ามาตรฐานสากล ส่งผลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการเรียนรู้ โครงการมหัศจรรย์ 2,500 วันสูงดีสมส่วน ไม่ซีด ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ไอคิวเกิน 100 ตำบลห้วยกรด ปี 2567 มุ่งหวังพัฒนาเด็กไทยให้มี:สุขภาพดี: สูงดีสมส่วน ไม่ซีด ฟันไม่ผุพัฒนาการสมวัย: พัฒนาการด้านต่างๆ สอดคล้องกับช่วงวัย ไอคิวเกิน 100: มีความฉลาด เฉลียวฉลาด คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เรียนรู้เร็วซึ่งจะส่งผล ให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นกำลังของชาติในการสร้างสรรค์ และพัฒนาประเทศต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายระดับตำบลมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานมหัศจรรย์ 2,500วัน

 

0.00
2 2. เพื่อให้ครอบครัวและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายมหัศจรรย์ 2,500 วัน

 

0.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์ ร้อยละ 80

 

0.00
4 4. เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึง 6 เดือน ร้อยละ 60

 

0.00
5 5. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการมากกว่าร้อยละ 80 และมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 85

 

0.00
6 5. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการมากกว่าร้อยละ 80 และมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 85

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 250
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 65
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม

ชื่อกิจกรรม
ประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประชุมชี้แจงนโยบายมหัศจรรย์ 2,500 วัน ให้กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวจากแต่ละหมู่บ้าน ร่วมกันคิดหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี เพื่อเป้าหมายสูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลห้วยกรด
  2. จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในพื้นที่ ให้มีความรู้ความเข้าใจนโยบายมหัศจรรย์ 2,500 วันและเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก 0-5 ปี อย่างถูกต้อง
  3. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์ในเรื่องโภชนาการ โดยสนับสนุนอาหารเสริม (นม,ไข่) ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
  4. ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก สอนผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ การอ่านกราฟภาวะโภชนาการ สนับสนุนอาหารเสริม (นม,ไข่) ในเด็กผอม ติดตามการรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
  5. ติดตามเยี่ยมหลังคลอดและมอบชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DSPM เพื่อให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการ
  6. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเตรียมการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ มอบเกียรติบัตรแก่แม่ที่ประสบความสำเร็จในการลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึง 6 เดือน
  7. เครือข่าย อสม. ติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการจัดหาอาหารเสริมให้ 1 เดือน  และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินให้คำแนะนำผู้ดูแลเด็กในการจัดอาหารที่เหมาะสม
  8. ตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟูลออไรด์วานิช ในเด็ก 6เดือน – 3 ปี ในสถานบริการ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  9. ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก ภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็กตามวัยให้กับผู้ดูแลเด็ก
  10. จัดพื้นที่ในสถานบริการให้มีลานเล่นและมุมนิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี งบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท     1. จัดทำชุดส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ชุดละ 45 บาท จำนวน 250 ชุด เป็นเงิน    11,250.-บาท     2. ค่าฟลูออไรด์วานิช 4 ชุด ๆ ละ 1,250 บาท                      เป็นเงิน     5,000.-บาท
        3. ค่าอาหารเสริมเด็กผอม และเด็กด้อยโอกาส10 คนๆ ละ 16 บาท/วัน 90 วัน    เป็นเงิน   14,400.-บาท
        4. ค่าอาหารเสริม (นม,ไข่) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 15 คนๆละ 16 บาท/วัน 30 วัน   เป็นเงิน    7,200.-บาท     5. ชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 50 ชุดๆละ 300 บาท                                       เป็นเงิน  15,000.-บาท
                                                                                               รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน   52,850.-บาท                (ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
  2. เด็กแรกเกิด ถึง 6 เดือน ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  3. เด็ก 0-5  ปี มีการเจริญเติบโตสมส่วน ในรายที่ผิดปกติได้รับการแก้ไข
  4. เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยในรายที่สงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นและส่งต่อ
  5. เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากปีละ 1 ครั้ง
  6. ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้และคำแนะนำและฝึกทักษะแปรงฟันให้กับเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก
  7. ผู้ดูแลเด็กได้รับทราบผลการตรวจสุขภาพของเด็ก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปาก ภาวะโภชนาการ และกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัย ได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52850.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
2. เด็กแรกเกิด ถึง 6 เดือน ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
3. เด็ก 0-5ปี มีการเจริญเติบโตสมส่วน ในรายที่ผิดปกติได้รับการแก้ไข
4. เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยในรายที่สงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นและส่งต่อ
5. เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากปีละ 1 ครั้ง
6. ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้และคำแนะนำและฝึกทักษะแปรงฟันให้กับเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก
7. ผู้ดูแลเด็กได้รับทราบผลการตรวจสุขภาพของเด็ก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปาก ภาวะโภชนาการ และกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัย ได้อย่างถูกต้อง


>