กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกศรีราชา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนเข้มแข็งต้านมะเร็ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกศรีราชา

โรงพยาบาลสรรคบุรี และคณะ

โรงพยาบาลสรรคบุรี และคณะ

ชุมชน 1 -5 ตำบลแพรกศรีราชา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศจากการรายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 5อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมลูกหมาก ในเพศหญิงได้แก่ มะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมะเร็งปอดมะเร็งตับและท่อน้ำดี
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาจังหวัดชัยนาทได้พัฒนาการส่งเสริมป้องกัน โรคมะเร็ง 3 ชนิดได้แก่ มะเร็งเต้านมมะเร็งลำไส้และมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องกับประชาชนที่มีอายุ 30 - 70 ปีทุกรายมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม
โดยการรณรงค์ให้ประชาชนเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเองพัฒนาระบบคัดกรองให้มีประสิทธิภาพลดขั้นตอนโดยร่วมมือกับผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ดังนั้นโรงพยาบาลสรรคบุรี เห็นความสำคัญการต้านภัยมะเร็งโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง จึงเสนอโครงการนี้เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลแพรกศรีราชา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญมีส่วนร่วมในการต้านมะเร็ง
2.สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนต้านภัยมะเร็งอย่างต่อเนื่อง
3.เพื่อส่งต่อรายที่มีผลคัดกรองผิดปกติตรวจยืนยันและดูแลต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีกลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอายุ 30-59ปี 30
สตรีกลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งเต้านมอายุ 30-70ปี 595

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงเครือข่ายในหมู่บ้าน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ละ 4 คน -นโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
-สรุปผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 20 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความตระหนักความรอบรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความตระหนักความรอบรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์เสียงตามสายอย่างต่อเนื่องทุกสามเดือน การฟื้นฟูความรู้เรื่องโรคมะเร็งให้ผู้เกี่ยวข้อง
การสนับสนุนสื่อความรู้ที่ทันสมัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 10 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การค้นหากลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การค้นหากลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้แก่ - คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มอายุ 30 ถึง 59 ปี
- คัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มอายุ 30 ถึง 70 ปี
- คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรทั้งชายและหญิงอายุ 50 ถึง 70 ปี
2. แจ้งผลการตรวจปกติผ่านผู้นำชุมชนเพื่อเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเอง
3. ดูแลส่งต่อผู้ที่มีความผิดปกติไปตรวจยืนยันและรับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างรวดเร็วถูกต้อง 4. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ งบประมาณ จำนวน 9,460 บาท รายละเอียด ดังนี้ -ค่าบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (fit test)จำนวน 96คน ๆละ80 บาทเป็นเงิน 7,680 บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 30คนๆละ 25 บาท 2ครั้งเป็นเงิน 1,500 บาท -กระดาษ A4 จำนวน 2 รีม ๆละ 140 บาทเป็นเงิน 280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ได้รับดูแลส่งต่อผู้ที่มีความผิดปกติไปตรวจยืนยันและรับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างรวดเร็วถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9460.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,460.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรคมะเร็ง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งร้อยละ 20 ต่อปี
3.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งส่งไปยืนยันและรับการวินิจฉัยจากแพทย์จนครบขบวนการ


>