กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมหาไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสู่การชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมหาไชย

ชมรม อสม. บ้านอู้ หมู่ 4 ต.มหาไชย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

0.25
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

72.55
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

71.88

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

0.25 0.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

72.55 75.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

71.88 73.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทบทวนข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทบทวนข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทบทวนสถานการณ์ ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ 2.วิเคราะห์ผลกระทบ สาเหตุของปัญหา โดยระดมความคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กันยายน 2567 ถึง 6 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ
2.ได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองในพื้นที่
3.ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและนำเข้าสู่แผนกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสู่การชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
จัดโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสู่การชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป 2.ตรวจวัดระดับความเค็มในอาหารด้วยเครื่องมือตรวจวัดความเค็มในอาหารของกลุ่มผู้ป่วย 3.ให้ความรู้กับกลุ่มเสี่ยงในการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่ปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการเสื่อมของไต 4.สาธิตการออกกำลังกายโดยการยืด-เหยียด และท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายที่ถูกวิธี ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองในด้านการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย การปลูกผักสวนครัวที่ไม่ใช้สารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดผลกระทบการเสื่อมของไตจากการกินยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
2.คนในชุมชนตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับสุขภาพ
3.คนในชุมชนออกกำลังกายที่เพียงพอ เหมาะสมช่วงวัย ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและโรคที่เกิดจากผลกระทบต่อโรคเรื้อรัง


>