กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จิกดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จิกดู่

องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

1.นายยอดศักดิ์ เกษเงิน 089-2817297
2.นายประเสริฐ มิลภา 091-8314214
3.นางสาวปราณี ภักดียุทธ 089-9466827
4.นายสะอาด บุทธิจักร 081-9394416
5.นางสาวกชพร น้อยเจริญ 086-9350504
6.นางสาวสุภาพร ไชยสิทธิ์ 097-9752185

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาทุกแห่งในพื้นที่ตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

28.57

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์ฯเด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

28.57 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 59
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 378
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจง และแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
การประชุมชี้แจง และแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม Active Play Active Leaning กับผู้ที่เกี่ยวข้อง พื่อสร้างโรงเรียนฉลาดเล่นและพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็กเล็ก ผ่านการอบรมร่วมกัน และส่งเสริมให้กิจกรรมทางกายเป็นนโยบายหลักของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 30.-บาท เป็นเงิน1,350.-บาท - ค่าป้ายโครงการ ฯ จำนวน 1 ป้ายๆละ 500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการและเข้าใจแนวทางการดำเนินงานกิจกรรม Active Play Active Leaningและมีคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงาน Time Line การขับเคลื่อนกิจกรรม และการติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงาน Time Line การขับเคลื่อนกิจกรรม และการติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงาน จำนวน 15 คน เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงาน Time Line การขับเคลื่อนกิจกรรม และการติดตามประเมินผล เดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนกรฎาคม 2567 - กันยายน 2567 รวมจำนวน 3 เดือน : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 30.-บาท ต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,350.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนปฏิบัติงาน Time Line การขับเคลื่อนกิจกรรม ทราบผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าโครงการทุกหนึ่งเดือน และทราบปัญหา อุปสรรคข้อจำกัด ระะหว่างดำเนินงานแต่ละขั้นตอนสามารถปรับแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจุบันที่เกิดขึ้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก และจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Active Classrooms

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก และจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Active Classrooms
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก ร่วมออกแบบกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมตามความสนใจของผู้เรียนและปรับใช้กับหลักสูตรการสอน จัดการเรียนการสอนแบบ Active Play Active Learning ในห้องเรียนฉลาดเล่น(Active Classrooms) เช่นการพื้นที่ปรับห้องเรียน จัดตารางเรียนที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย การปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ให้เอื้อต่อการการเล่นของนักเรียน และการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หรือการประดิษฐ์ประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้วัสดุใช้ วัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์เพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท เป็นเงิน 2,700.-บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรบรรยายจำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600.-บาท วิทยากรกระบวนการ(กลุ่ม) จำนวน 2 คนๆ ละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท ต่อ คน รวมเป็นเงินค่าสมนาคุณวิทยากร 6,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้หลักสูตรการเรียนการสอนแบบ Active Play Active learning2.นักเรียนมีกิจกรรม PA เพิ่มขึ้นจากกิจกรรม เล่น ปน เรียน ในคาบสอนวิชาต่างๆ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อระบบการเรียนการสอนและมีพฤติกรรมสนุกกับการเรียนอยากมาโรงเรียนมากขึ้น 3.นักเรียนพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม PA เล่น เรียน รู้ อย่างอิสระ เล่นสนุก เล่นได้นาน เกิดสัมพัธภาพที่ดีในกลุ่มเพื่อน มีพัฒนาด้านร่างกายจิตใจที่ดี มีสุขภาพดี และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ กลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่นในสถานศึกษา มี PA เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 4 พัฒนาศักยภาพวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน และบันทึกสมุดสุุขภาพกิจกรรมเพิ่ม PA

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน และบันทึกสมุดสุุขภาพกิจกรรมเพิ่ม PA
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักเรียน เรื่องกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนวัยรุ่น กิจกรรมการประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกายและภาวะการเจริญเติบโต กิจกรรมเชิงปฏิบัติการชวนเด็กๆออกกำลังกายด้วยยางยืด เดินกะลา และวิ่งม้าก้านกล้วย กิจกรรมสร้างกระแสนิยมวัยเรียนวัยใสเพิ่ม PA เดิน - วิ่ง-ปั่น เพื่อสุขภาพ และการบันทึกสมุดสุขภาพกิจกรรมเพิ่ม PA ประจำวัน : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 250 คนๆละ 30.-บาท เป็นเงิน 7,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทราบสถานการณ์สุขภาพภาวะการเจริญเติบโตและพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มเด็กปฐมวัย กลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่นในสถานศึกษาพื้นที่ตำบลจิกดู่2. นักเรียนมีความรู้และมีทักษะในกิจกรรมเพิ่ม PA ด้วยยางยืดได้ 3.วัฒนธรรมภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านไทยได้รับการอนุรักษ์สืบสานผ่านกิจกรรมการเล่นเพิ่ม PA ในกลุ่มเด็กปฐมวัยและกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น 3.เกิดกระแสความตื่นตัวในกิจกรรมเดิน - วิ่ง ของกลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่นและชวนกันออกมาทำกิจกรรมดังกล่าวในพื้นที่สาธารณะของตำบล การสมัครเข้าร่วมโครงการเดิน - วิ่ง ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว หรือสมัครเข้าร่วมเป็นสมชิกชมรมเดิน-วิ่งขององค์กรต่าง ๆ4.พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไป สุขภาพดี มีความสุข มีกิจกรรม PA เพิ่มขึ้น มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำกิจกรรม PA ร่วมกับกับกลุ่มเพื่อน ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 5 วัยเรียน วัยใส Happy and Healthy รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง - ปั่น เช็คอินแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่

ชื่อกิจกรรม
วัยเรียน วัยใส Happy and Healthy รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง - ปั่น เช็คอินแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เพื่อสร้างกระแสการออกกำลังกาย เดิน - วิ่ง-ปั่น ในกลุ่มประชาชนกลุ่ม อายุ 6 ปี ขึ้นไป จัดกิจกรรม เดิน - วิ่ง-ปั่น เช็คอินแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่ ระะยะทาง 3 กิโลเมตร : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 250 คน ๆละ 30.- บาท เป็นเงิน 7,500.-บาท - ค่าจัดสถานที่ เวที และป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม เป็นเงิน 4,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนทุกกลุ่มวัยให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม เดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพ2.เกิดกระแสความนิยมกิจกรรม เดิน - วิ่ง เช็คอิน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่ และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ 3.ประชาชนทุกกลุ่มวัย ออกมาใช้พื้นที่สาธารณะ บ่อบักฮุก เพื่อทำกิจกรรมเพิ่ม PA เดิน - วิ่ง ตามวิถีมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ คือPA เพิ่มขึ้นในประชาชนทุกกลุ่มวัย4. บ่อบักฮุก แหล่งน้ำชลประทานสถานที่สาธารณะที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย PA ได้รับการปรับปรุงดูแลให้มีความปลอดภัยต่อผู้มาใช้บริการ มีการโปรโมทประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน/กลุ่ม/ชมรม /องค์กร ทั้งในและนอกตำบล มาใช้สถานที่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือออกกำลังกาย เป็นต้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลโครงการ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประชุมสรุปผลการประเมินโครงการ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลความสำเร็จของโครงการ เสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ ทราบแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรม PA ในสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ การต่อยอด ขยายผลโครงการจากข้อเสนอแนะ/ข้อวิจารณ์ที่ได้จากผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชน ทราบแนวทางการพัฒนาโครงการจากการถอดบทเรียน ผลการประเมิน ข้อเสนอแนะวิจารณ์และนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงานต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :
กำหนดการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละของเวลาในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) เพิ่มขึ้นตามค่าเป้าหมายกำหนด ร้อยละ 60 ภายในระยะเวลา 1 ปี
2.นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม Active play Active learning เล่น เรียน รู้ ฉลาดเล่น สนุกเรียน ตามความสนใจ
3.นักเรียนมีวินัยในกิจวัตรประจำวันเพื่อเพิ่ม PA อย่างสม่ำเสมอ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากภาวะเนือยนิ่ง สู่ ภาวะกระฉับกระเฉง ฉลาดเล่น สนุกเรียน และอยากมาโรงเรียนทุกวัน
4.การขับเคลื่อนโครงการและพัฒนาสู่การเป็นการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนต้นแบบ Active play Active learning ต้นแบบ
5.บ่อบักฮุก แลนด์มาร์ค จุดเช็คอิน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของตำบลจิกดู่ ได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์ ดูแลรักษาและพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อเพิ่มกิจกรรม PA
6.ส่งเสริมกิจกรรมเพิ่ม PA เดิน - วิ่ง เพื่อสุขภาอย่างต่อเนื่อง


>