กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารี และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารีและคณะ

หมู่ที่ 1 - 8 ตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลห้วยกรดพัฒนา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และเกษตรกรรมอื่นๆ มีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช กระจายและขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารีจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลห้วยกรดพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลห้วยกรดพัฒนา ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดโดยการวัดค่าเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสว่าอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนัก การป้องกันตัวเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดซื้อวัสดุสำนักงานในการทำโครงการและทำสื่อประชาสัมพันธ์,แผ่นพับให้ความรู้ต่างๆ
  2. จัดประชุมให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 200 คน งบประมาณ จำนวน 30,600.00 บาท รายละเอียด ดังนี้ -กระดาษ A4 80 แกรมเป็นเงิน 1,350.00 บาท -กระดาษการ์ดหอม 180 แกรม เป็นเงิน 240.00 บาท -ปากกาเคมี 2 หัว เป็นเงิน 60.00 บาท -แฟ้มสันหนาตราช้าง เบอร์ 2100 F(สี) เป็นเงิน 80.00 บาท -ลวดเย็บกระดาษ MAX เบอร์ 3เป็นเงิน 60.00 บาท -กระดาษกาว 2 หน้า บางยาว 20 หลา เป็นเงิน 100.00 บาท -ฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 65 X 122 ซม. 3 มม. เป็นเงิน 100.00 บาท -กระดาษโปสเตอร์สี หนาเป็นเงิน 10.00 บาท -ค่าชุดทดสอบโคลีนเอสเตอเรสในเลือด เป็นเงิน 7,600.00 บาท

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 5,000.00 บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 16,000.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 200 คน เจาะเลือดหาสารพิษตกค้างในเกษตรกร ในหมู่บ้านทุกหมู่ ตามศาลาของหมู่บ้านในแต่ละหมู่ สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองหาสารพิษตกค้างใน เลือด
  2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนัก ในการป้องกันตัวเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองหาสารพิษตกค้างในเลือด
2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนัก ในการป้องกันตัวเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช


>