กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนโดยสร้างแกนนำ อย.น้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารีและคณะ

โรงเรียนในเขตความรับผิดชอบในตำบลห้วยกรดพัฒนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อย.น้อยคือ กลุ่มเยาวชนที่มีส่วนร่วมในภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย คุ้มค่า ทั้งในโรงเรียนและชุมชน ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารี ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินที่ดีอย่างได้ผล จึงได้จัดทำ โครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนโดยสร้างแกนนำ อย.น้อย โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้ อย.โดยการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ดังนั่น เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ งานคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารี จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนโดยสร้างแกนนำ อย.น้อย เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อย เพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนครอบครัวและชุมชนได้
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้มีชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ และรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประสานงานโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานงานโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมทั้งจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์อาหารปลอดภัยในโรงเรียน ทำสื่อที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน รวมถึงทำรูปเล่มจัดเก็บข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน ให้นักเรียนกลุ่ม อย.น้อย ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารของโรงเรียนตนเองตามไตรมาศ ประเมินสรุปผลการดำเนินโครงการ งบประมาณ ดังนี้ 1. ค่าวัสดุสำนักงานและเอกสารในโครงการ ใช้จัดทำคู่มือให้นักเรียนได้ศึกษาในโรงเรียนเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ทำแผ่นพับแจกให้กับนักเรียน รวมถึงชุมชน และทำสื่อที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน รวมถึงทำรูปเล่มจัดเก็บข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหาร
- กระดาษ A4 80 แกรม รีมละ 130 บาท จำนวน 3 รีมเป็นเงิน390บาท - กระดาษการ์ดหอมสี 180 แกรม ห่อละ 125 บาท จำนวน 3 ห่อ เป็นเงิน375บาท - สันรูดคละสี อันละ 10 บาท3 อัน เป็นเงิน30บาท - แฟ้มใส่เอกสารผลงาน 3 อัน อันละ 60 บาท เป็นเงิน180บาท - กระดาษปรูฟแผ่นใหญ่ แผ่นละ 10 บาท จำนวน 6 แผ่นเป็นเงิน 60 บาท 2. ค่าป้ายป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้จำนวน 3 แผ่นแผ่นละ 400 บาท เป็นเงิน1,200บาท 3. ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนตกค้าง - ชุดทดสอบสารฟอร์มาลีนในอาหาร(1 test/กล่อง) ชุดละ 60 บาท จำนวน 40 ชุดเป็นเงิน 2,400 บาท - ชุดทดสอบสารฟอกขาว (100 test/กล่อง) ชุดละ 250 บาท จำนวน 4 ชุดเป็นเงิน1,000บาท - ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ (50 test/กล่อง) ชุดละ 250 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน1,000บาท - ชุดทดสอบสารกันรา (50 test/กล่อง) ชุดละ 290 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน1,160บาท - ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ (25 test/กล่อง) ชุดละ 1,300 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน5,200บาท - ชุดทดสอบสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ (10 test/กล่อง) ชุดละ 1,500 บาท จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน3,000บาท -ชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือไอโอดีน (80 test/กล่อง) ชุดละ 130 บาท จำนวน 4 ชุดเป็นเงิน520บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น16,515บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
  2. นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้
  3. เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16515.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,515.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
2. นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้
3. เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน


>