กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนกำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนกำ

รพ.สต.ดอนกำ และคณะ

รพ.สต.ดอนกำ และคณะ

อสม. 80คน ในเขตรับผิดชอบตำบลดอนกำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันจากสถิติการป่วยแลพเสียชีวิตของคนไทย พบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุปัจจัยเสี่ยงหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม อาหารที่ไม่ปลอดภัยมีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาหารแปลกปลอมและอาหารสุกๆดิบๆ และจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนไปนิยมบริโภคอาหารปรุงสุกหรืออาหารถุง เนื่องจากไม่มีเวลา สะดวกและประหยัดกว่า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์สภาะปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกก พบว่ามีจำนวนป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวนมาก และในรอบปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยมารับการรักษาด้วยอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคบิดจำนวนหลายราย ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 13 บ้านบนคุย จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจคติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและคุ้งครองผู้บริโภคในระดับชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในความดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงประกอบอาหารได้ถูกต้อง
2. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร
3. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรม ให้ความรู้ อสม. จำนวน 1 วัน
2.ให้ อสม.ลงพื้นที่เพื่อตรวจภาชนะในวัด,ร้านอาหารตามสั่งและโรงเรียนในเขตที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความรู้ผู้สัมผัสอาหาร และส่งผลการตรวจ 3.สรุปผลโครงการและให้ อสม. และผู้สัมผัสอาหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารและภาชนะที่ใส่อาหาร งบประมาณ ดังนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ภาชนะปลอดภัย สะอาด ไม่พบสารปนเปื้อน
  2. ผู้ประกอบอาหารมีความรู้ เรื่องความสะอาด และอาหารปลอดภัย
    3.อสม.มีความรู้สามารถทำการตรวจสอบภาชนะได้ 4.อสม.สามารถแปลผลการตรวจภาชนะได้
    งบประมาณ ดังนี้
  3. ค่าใช้จ่ายในการอบรมให้ความรู้จำนวน 1 วัน ดังนี้   1.1 ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 80 ท่าน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน  4,000   บาท   1.2 อาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 80 ท่าน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  4,000 บาท
  4. ค่าชุดทดสอบความสะอาดภาชนะสัมผัสอาหาร และมือ(SWAB TEST) 1 ชุด ใช้ได้ 20
    การทดลอง 3 ชุด ชุดละ  1,000บาท ใช้ได้ 60
    การทดลอง เป็นเงิน  3,000  บาท 3.ค่าวิทยากรวันละ 1 ท่าน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600บาท
  5. ค่าป้ายโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ปี ปี2566 ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท รวมทั้งโครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 15,100 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ภาชนะปลอดภัย สะอาด ไม่พบสารปนเปื้อน
2. ผู้ประกอบอาหารมีความรู้ เรื่องความสะอาด และอาหารปลอดภัย
3.อสม.มีความรู้สามารถทำการตรวจสอบภาชนะได้
4.อสม.สามารถแปลผลการตรวจภาชนะได้


>