กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนกำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมทบทวนชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำเทศบาลตำบลดอนกำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนกำ

สำนักปลัดเทศบาลตำบลดอนกำและคณะ

สำนักปลัดเทศบาลตำบลดอนกำและคณะ

ในเขตเทศบาลตำบลดอนกำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 41 กำหนดให้ผู้อำนวยการจัดให้มีอาสาสมัครในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั้งนี้ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. มีความประสงค์ขอให้กระทรวงมหาดไทย ประสานจังหวัด/อำเภอจัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลตำบล (ทต.) อย่างน้อย50 คนต่อแห่ง เพื่อเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ รวมถึงพิจารณากำหนดรูปแบบ/องค์ประกอบโครงสร้าง การสั่งการ แผนผัง/เครือข่ายการติดต่อสื่อสาร และการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติดังกล่าวให้มีความพร้อมปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย อาศัยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา๖๗ (๔) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในการป้องกันสาธารณ
ภัย และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๑๖กำหนดให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ (๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๓๐)การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการรักษาความสงบเรียบร้อย จึงเป็นอำนาจหน้าที่
โดยตรงของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๕๗ ข้อ ๔ กำหนดว่า “การฝึกอบรมบุคคลภายนอก” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ข้อ ๗ กำหนดว่า โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น ต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และข้อ ๑๒ – ๑๖ กำหนดค่าใช้จ่ายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายได้
ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS)
การควบคุมสั่งการ การบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่เกิดเหตุ ที่เป็นรูปแบบ และมีมาตรฐานเดียวกัน สามารถบัญชาการและปฏิบัติการร่วมกับชุดปฏิบัติการอื่นอย่างมีเอกภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี จึงได้จัด
โครงการจัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น นั้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี ให้มีบุคลากรที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) การควบคุมสั่งการ การบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่เกิดเหตุ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน ให้กับชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. เพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงานกู้ภัยในภาวะฉุกเฉินให้เป็นระบบ รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
4. เพื่อสนับสนุนให้โครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและมีทักษะความรู้ ความชำนาญในการจัดการภัยพิบัติอันจะส่งผลให้ประชาชนในชุมชน/ท้องถิ่นมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม

ชื่อกิจกรรม
ประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมวางแผนโครงการ -เสนอโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 5 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมทบทวนชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำเทศบาลตำบลดอนกำ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมทบทวนชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำเทศบาลตำบลดอนกำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอบรมทบทวนชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำเทศบาลตำบลดอนกำ จำนวน 2 วัน
โดยการบรรยาย อภิปราย การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และการจำลองสถานการณ์ โดยใช้วิทยากรจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.หน่วยงานทหาร ตำรวจ และสาธารณสุข งบประมาณ 30,000 บาท ดังนี้ -ค่าจัดซื้อวัสดุฝึกอบรมจำนวน 30 ชุดๆละ100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าจัดซื้อวัสดุฝึกปฏบัติเป็นเงิน 6,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 ชุดๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 มื้อ ๆละ 50 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คน6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 7,200บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรปฏิบัติจำนวน 2 คน6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 7,200 บาท -ค่าทำวุฒิบัตร เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายในพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างถูกต้องรวดเร็วเป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน 2.ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งพื้นที่ เมื่อเกิดสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากสาธารณภัย 3.ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ
4.กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลเทศบาลตำบลดอนกำมีความเข้มแข็งและยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายในพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างถูกต้องรวดเร็วเป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน
2.ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งพื้นที่ เมื่อเกิดสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากสาธารณภัย
3.ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ
4.กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลเทศบาลตำบลดอนกำมีความเข้มแข็งและยั่งยืน


>