กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงอายุสุขภาพกายดีด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย (พอกเข่า) ปี ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

รพ.สต.บางขุด

นางอัษณีดา จะมาจี
นางศิราณี อับดุลรามัน
นางรอกีเยาะ สุหลงเส็น
นายมัรวัน อุเซ็ง
นางสาวนูรอักมาล ดือเลาะ

มัสยิดกำปงกัส ม.3 ต.ฆอเลาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพกายและใจที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะช่วยให้คนเรานั้นมีอายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ในปัจจุบันประชาชนมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพน้อยมาก ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆที่เกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดี หรือดูแลอย่างไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ที่ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคมากที่สุด ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี 2567 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ขึ้นไปเกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันหรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราส่งเสริมสุขภาพ ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ การแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ในการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพเช่นการดูแลรักษาโรคด้วยสมุนไพร การปรับสมดุลร่างกายด้วยมณีเวช การพอกเข่า และการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยังช่วยให้ภาวะจิตใจของผู้สูงอายุดีขึ้น ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เป็นการส่งเสริมให้สามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุ และยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีส่งเสริมให้มีการทำหัตถการแพทย์แผนไทยเพื่อการรักษาผู้ป่วยในและนอกหน่วยบริการ
งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค จ่ายยาสมุนไพร นวดรักษา ประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การทับหม้อเกลือ การพอกยาสมุนไพร และการแช่เท้าสมุนไพร ในการให้บริการเชิงรับ ปี 2553 มีผู้ที่เข้ามารับบริการจำนวน 691 ครั้ง ปี 2564 มีผู้มารับบริการจำนวน 1,239 ครั้ง ปี 2565 มีผู้เข้ารับบริการจำนวน 1,320 ครั้งและปี 2566 มีผู้เข้ารับบริการจำนวน 1,340 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.70 ในจำนวนผู้มารับบริการทั้งหมดนั้นจะประกอบไปด้วยประชาชนทุกกลุ่มวัยมีตั้งแต่เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้อายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ อัมพฤกษ์ อัมพาตที่เกิดจากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง มารดาหลังคลอด และยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังทำการรักษากับหมอพื้นบ้าน แต่ยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
งานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึง เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลฆอเลาะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ประชาชน และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ สุขภาพกายใจที่ดี ไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมการใช้ความรู้การแพทย์แผนไทยในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ 2.มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ร้อยละ 90

0.00
2 2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริการด้านแพทย์แผนไทย การใช้ยาสมุนไพร และสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเองได้

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าถึงบริการด้านแพทย์แผนไทย และการใช้ยาสมุนไพร 2.มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2023

กำหนดเสร็จ : 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 มีการให้บริการแพทย์ แผนไทยเชิงรุก โดยการ ตรวจวินิจฉัย รักษา ส่งเสริมสุขภาพด้วย ศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่า เสื่อม และจัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
มีการให้บริการแพทย์ แผนไทยเชิงรุก โดยการ ตรวจวินิจฉัย รักษา ส่งเสริมสุขภาพด้วย ศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่า เสื่อม และจัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ/กิจกรรม ขนาด 1 x 8 เมตรจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท จำนวน1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน2,500 บาท
3.ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คนๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
4.ค่าวิทยากร ชม.ละ 600 บาท x 6 ชม.x1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท 5.ค่าวัสดุอบรมบาท (ปากกา 10 บาท x50 คน สมุดปกอ่อน 10 บาท x 50 คน แฟ้ม 20 บาท x 50 คน) 2,000 บาท 6.ค่ายาสมุนไพรพอกเข่า ผงดองดึง กิโลกรัมละ 685 บาท จำนวน 7 กก. เป็นเงิน 4,795 บาท ลูกแป้งข้าวหมาก ลูกละ 14 x 100 คิดเป็นเงิน 1,400 บาท แป้งมัน กก.ละ 35 x 15 คิดเป็นเงิน 525 บาท ดินสอพอง กก.ละ 50 x 15 คิดเป็นเงิน 750 บาท เมนทอล กก.ละ 1,050 x 1.5 คิดเป็นเงิน 1,575 บาท พิมเสน กก.ละ 1,500 x 1.5 คิดเป็นเงิน 2,250 บาท การบูร กก.ละ 680 x 2.5 คิดเป็นเงิน 1,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ สามารถนำองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย   มาใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพตนเองได้ 2. ผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ มีสุขภาพกาย ใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24595.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,595.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ สามารถนำองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย มาใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพตนเองได้
2. ผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ มีสุขภาพกาย ใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>