กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด

นายภิรมย์เลิศหงิม ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด และคณะ

หมู่ 1 – หมู่ 9ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรีจังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน พบว่า มีการจำหน่ายใช้ผลิตภัณฑ์สิ้นค้าอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำ/แผงลอยในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด ร่วมกับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรา นวมินทราชินี จังหวัดชัยนาท จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ปี 2567 ขึ้น เพื่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน และเครือข่าย สามารถเฝ้าระวัง อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างมีปรสิทธิภาพ

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนและท้องถิ่น

ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

0.00
4 เพื่อพัฒนาคุณภาพปรับปรุงให้สถานที่ผลิต/จำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย

ร้อยละ 90 ของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food  Good Taste)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงองค์กรเครือข่ายสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงองค์กรเครือข่ายสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชี้แจงองค์กรเครือข่ายสุขภาพให้ทราบบทบาทในด้านอาหารปลอดภัยในระดับชุมชน (เช่น กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่ม อย.น้อย) และท้องถิ่น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 8 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ราบบทบาทในด้านอาหารปลอดภัยในระดับชุมชน (เช่น กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่ม อย.น้อย) และท้องถิ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ทำทะเบียนร้านอาหาร/แผงลอย

ชื่อกิจกรรม
ทำทะเบียนร้านอาหาร/แผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำทะเบียนร้านอาหาร/แผงลอย สถานประกอบการผลิตอาหาร ร้านชำ ตลาดนัดในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 15 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทะเบียนร้านอาหาร/แผงลอย สถานประกอบการผลิตอาหาร ร้านชำ ตลาดนัดในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมฟื้นฟูศักยภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูศักยภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมฟื้นฟูศักยภาพเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน และแนะนำความรู้ในด้านอาหารปลอดภัย และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/กลุ่มผู้ผลิตอาหารในชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน/ผู้ประกอบการร้านชำ และดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม อบรมฟื้นฟูความรู้เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน จำนวน 30 คนๆละ 130 บาท เป็นเงิน3,900  บาท - ค่าอาหารว่างอบรมให้ความรู้เครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน
   จำนวน  30 คน ๆละ  25  บาท    เป็นเงิน 750    บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.20 * 2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450    บาท - ค่าสื่อความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 40 ชุด ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลเฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภคครอบคลุมอาหารที่จำหน่ายในพื้นที่มีความปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

กิจกรรมที่ 4 รวจประเมินมาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
รวจประเมินมาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินมาตรฐานร้านอาหาร/แผงลอย และตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในตลาดนัด/ร้านชำ เดือนละ 1 ครั้ง
งบประมาณ - ค่าชุดทดสอบ เป็นเงิน 15,130  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15130.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,830.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย
2. เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลเฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภคครอบคลุมอาหารที่จำหน่ายในพื้นที่มีความปลอดภัย
3. สถานที่ผลิต/จำหน่ายอาหารได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย


>