กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด และคณะ

- หมู่ 1 – หมู่ 9ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท - โรงเรียนห้วยกรดวิทยา โรงเรียนวัดบำเพ็ญบุญ โรงเรียนวัดจันทน์ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางยายอ้น /โรงเรียนวัดบำเพ็ญบุญ /เทศบาลตำบลห้วยกรด - วัด 5 วัด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมมาโดยตลอดปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายขึ้นในทุกๆปีจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2566 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 11 มกราคม 2567) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 158,705 ราย คิดเป็น 239.86 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 181 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.11 ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 3.5 เท่า ในปี พ.ศ. 2565ณ ช่วงเวลาเดียวกัน โดยการระบาดของโรคไข้เลือดออกพบได้ตลอดทั้งปี แต่การระบาดเป็นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน ซึ่งทำให้ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มากขึ้นจากน้ำที่ขังตามที่ต่างๆ จึงสังเกตได้ว่าในช่วงฤดูฝนของทุกปีเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคสูง นอกจากยุงลายที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกแล้ว ยุงชนิดอื่นๆ ยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ เช่น ไข้สมองอักเสบ ไข้จับสั่น มาเลเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ในปี พ.ศ. 2566
พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จำนวน 24 ราย คิดเป็น 386.16 ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้เสียชีวติจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลังพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกเช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
การรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ มาตรการ 5ป 1 ข. การพ่นควันฆ่ายุงตัวเต็มวัย และการควบคุมการระบาดของโรคขณะเกิดการระบาดโดยเราจากข้อมูลดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสืบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน
3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาล โรงเรียน ชุมชน สถานีอนามัย และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ทำป้ายประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลุกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาล โรงเรียน ชุมชน สถานีอนามัย และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ทำป้ายประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลุกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดยุงลาย จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้ง     โดยวิธี 3.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
ในชุมชน และโรงเรียน 3.2 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายกำจัดลูกน้ำ ในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดย อสม.และพ่นฝอยละอองกำจัดยุงตัวแก่ในโรงเรียน วัด ช่วงเปิดภาคเรียน
3.3 ทางชีวภาพ  สนับสนุนให้ชุมชน การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ  เช่น ปลาหางนกยูง
4. ดำเนินการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วยในชุมชน โดยการพ่นฝอยละออกและใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ 5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ งบประมาณ - ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ ขนาด 25 กก. จำนวน 20 ถัง ๆ ละ 3,500 บาท    เป็นเงิน    70,000  บาท - ค่าน้ำยาพ่นยุง ขนาด 1 ลิตร จำนวน 12 ขวด ๆ ละ 1,500 บาท    เป็นเงิน       18,000  บาท - ค่าน้ำมันเบนซินเติมเครื่องพ่นฝอยละอองละเอียด          เป็นเงิน      4,000  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20 x 2.40 ม. จำนวน 9 ป้าย ๆ ละ 450    เป็นเงิน      4,050  บาท     รวมเป็นเงิน     96,050  บาท
(ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
96050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 96,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 คน ต่อแสนประชากร
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก


>