กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

คณะกรรมการหมู่บ้านบ้านทุ่งใหญ่

1 นายอาหามะรอหิมิง มะเละ
2 นายมะนาอิน เจ๊ะเซ็ง
3 นายรัชชานนท์ แดงเพ็ง
4 นางสาวมารีนา ปะด้อ
5 นางสาวฮาสานะห์ สาแม็ง

ม.1 ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแล เนื่องจากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้พิการเป็นปัญหาที่พบเจอบ่อย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุที่จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และนำสู่ความพิการในอนาคตต่อไป ดังนั้น จึงจำเป็นที่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รพ.สต. อบต. แกนนา สุขภาพในพื้นที่ ต้องช่วยกันเผยแผ่ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ การดูแลสุขภาพและการให้ ความรู้ในการดูแลสุขภาพจำเป็นจะต้องดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการ ทาให้ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ รวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
ดังนั้น เพื่อให้มีการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ เป็นไปอย่างต่อเนื่องยั่งยืน และมีศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น งานสวัสดิการสังคมและพัฒนาชุมชน ทางคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ โดยใช้หลัก 3 อ. เพื่อให้แกนนำ ญาติ/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถดูแลและช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้สูงอายุ/ผู้พิการและผู้ดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ผู้สูงอายุ/ผู้พิการและผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแล
สุขภาพอย่างถูกวิธี
2.สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ
ผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม
    อบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการกลุ่มเป้าหมาย 2 กิจกรรม กิจกรรมกลุ่มสันทนาการและออกกำลังกายขยับกาย สบายชีวี งบประมาณ
    ค่าวิทยากร ชม.ละ 600 บาทจำนวน6 ชม. 600 x 6 = 3,600 บาท ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 50 คน 50 x 50 =2,500 บาท ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 25 บาท25 x 50 x 2 = 2,500 บาท ค่าป้ายดำเนินโครงการขนาด 2 เมตร x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,000บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ -ค่าปากกาเคมี 10 แท่งๆละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท -ค่ากระดาษชาร์ต 10 แผ่นๆ ละ
    20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้สูงอายุ/ผู้พิการและผู้ดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี 2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการในการช่วยเหลือตนเอง เพื่อสุขภาพกาย ใจ สังคม สภาพแวดล้อม และการทำกิจกรรม
ภายในครอบครัว และชุมชนด้วยความภาคภูมิใจ
2.สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ
3.สามารถสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีทัศนคติที่ดี ต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง


>