กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม กลุ่มผู้หญิงอายุ 30-70 ปี ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางขุด

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่นหมู่ที่ 9 ,หมู่ที่ 12 ตำบลบางขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ๒ และ 3 ตามลำดับ ของโรคมะเร็งทั้งหมด สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมา พบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้าน สังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัด กรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีและอาจลดการตรวจลง ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วย และอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเด่น จึงได้จัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม กลุ่มผู้หญิงอายุ 30-70 ปี ปีงบประมาณ 2567 เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้น การให้ความรู้ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม และสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในสตรีอายุ 30-70 ปี
2. เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
4.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการตรวจประเมินซ้ำจากเจ้าหน้าที่ทุกราย
5. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาตามระบบทุกราย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คัดกรองสตรีอายุ 30 - 70 ปี 650
อสม. 75

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  • วิทยากรสาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง พร้อมให้ผู้เข้ารับการอบรมสาธิตย้อนกลับ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  มีความรู้ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี ร้อยละ 90จากการสอบถาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ลงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในเขตรับผิดชอบพร้อมให้ความรู้คำแนะนำที่ถูกต้องในการตรวจด้วยตนเอง จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางขุด จำนวน 11,555.- บาท รายละเอียด  ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท       เป็นเงิน  3,750 บาท
    - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท     เป็นเงิน  3,750 บาท            - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600บาท                       เป็นเงิน  3,600 บาท            - ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 650 แผ่นๆ ละ 0.70 บาท      เป็นเงิน     455 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 9 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี ร้อยละ 90 จากแบบตรวจคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11555.00

กิจกรรมที่ 3 การส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
การส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการรักษาและส่งต่อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการตรวจประเมินซ้ำจากเจ้าหน้าที่  ร้อยละ 100 จากทะเบียนคุม การตรวจพบความผิดปกติได้รับการตรวจประเมินซ้ำจากเจ้าหน้าที่
-กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาตามระบบ ร้อยละ 100 จากทะเบียนการส่งต่อและการรักษาตามระบบโรคมะเร็งเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,555.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี ร้อยละ 90จากการสอบถาม
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี ร้อยละ 90 จากแบบตรวจคัดกรอง
3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการตรวจประเมินซ้ำจากเจ้าหน้าที่ร้อยละ 100 จากทะเบียนคุม การตรวจพบความผิดปกติได้รับการตรวจประเมินซ้ำจากเจ้าหน้าที่
4. กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาตามระบบ ร้อยละ 100 จากทะเบียนการส่งต่อและการรักษาตามระบบโรคมะเร็งเต้านม


>