กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน รพ.สต.วังใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.วังใหญ่

1. นายวินัย แหละหนิ๊
2. นางอาภรณ์ ดำแก้ว
3. นางสายพิณ รัตนมุณี
4. นางจารุวรรณ พรหมแก้ว
5. นางสาวกันยาดี ยีตำ

หมู่ที่ 10 จำนวน 146 ครัวเรือนหมู่ที่ 11 จำนวน 159 ครัวเรือน หมู่ที่ 15 จำนวน 123 ครัวเรือน หมู่ที่ 17 จำนวน 112 ครัวเรือนวัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่งมัสยิด จำนวน 1 แห่งโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา และได้สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอนาทวีตั้งแต่ 1 มกราคม – 3 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วย 175 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 275.96ต่อแสนประชากรไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ตำบลนาทวีอำเภอนาทวี มีจำนวนผู้ป่วย 11 ราย
การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ธันวาคม ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักเกิดจากการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม (การกำจัดขยะไม่ถูกวิธี)ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน รพ.สต.วังใหญ่ เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อนำโดยแมลง และเป็นการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อนำโดยแมลง พร้อมทั้งการค้นหาโรคโดยการคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และคัดแยกขยะได้ถูกวิธี

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และคัดแยกขยะได้ถูกวิธี เพิ่มมากขึ้น

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้านเรือน และในชุมชน

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย HI CI ที่บ้านเรือน และชุมชนลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย คือ สถานศึกษา /สถานบริการสาธารณสุขค่า HI CI = 0 ,บ้านเรือน ชุมชน HI < 10 ,CI < 5

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 43
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง    1.1 การจัดกิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANNING DAY ในหมู่บ้านสถานศึกษา ศาสนสถาน ชุมชน(สถานที่สาธารณะ) และ SMALL CLEANNING DAY ตามสถานการณ์การเกิดโรค    1.2 การติดตามสำรวจค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้าน และชุมชนโดย อสม.ร่วมกับเจ้าบ้าน ทุก 7วัน ต่อเนื่อง พร้อมสรุปผลค่า HI CI ให้ รพ.สต.ทราบเพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์และเตรียมวางแผนเฝ้าระวังป้องกันได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที    1.3 จัดทีม อสม. 3 ทีมๆละ 9 คน ออกสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ (ประเมินไขว้) ระหว่างชุมชน ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 เดือน (มิ.ย. – ธ.ค.2567 )ภายในบริเวณมัสยิดและซุ่มสำรวจบ้านจำนวน 5 หลังคาเรือน

ค่าใช้จ่าย 1. ทรายอะเบท แบบบรรจุซอง 1 ถังๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 2. ถุงขยะพลาสติก ขนาด 30X40 นิ้ว หมู่ละ 5 กก.ๆ ละ 90 บาท X 4 หมู่ เป็นเงิน 1,800 บาท 3. ไม้กวาดไม้ไผ่ ด้ามละ 40 บาท X 8 ด้าม X 4 หมู่  เป็นเงิน 1,280 บาท 4. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์ไข้เลือดออก ขนาด 1.2 X 2.4 ม. ป้ายละ 430 บาท X 9 ป้าย  เป็นเงิน  3,870 บาท ( ประกอบด้วย 4 หมู่ 1 มัสยิด 1 สถานบริการ 1 วัด 1 สำนักสงฆ์  1 โรงเรียน ) 5. เหมาจ่ายน้ำดื่มในการรณรงค์ 600 บาท/ครั้ง x 4 หมู่ เป็นเงิน 2,400 บาท

รวมเป็นเงิน 12,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ดำเนินการตามมาตรการ 3-3-1อย่างเข้มข้น  ต่อเนื่อง จนครบ 28 วัน(ยึดหลัก”รวดเร็ว เข้มข้น และต่อเนื่อง”)โดย - ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับรายงานจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี จนท.รพ.สต.ประสาน อสม.ดูแลพื้นที่บ้านที่พบผู้ป่วย เพื่อลงสอบสวนโรคพร้อมสำรวจค่า Hi Ci จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง พร้อมฉีดพ่นสเปรย์เพื่อกำจัดยุงตัวแก่ที่บ้านผู้ป่วย โดยพ่นต่อเนื่องอย่างน้อย3วันติดต่อกัน และการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ HI CIพร้อมกำจัดทำลายที่บ้านผู้ป่วยรวมถึงบ้านที่อยู่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตรกับบ้านผู้ป่วยทุกวันที่ 0,7,1 4และ 28 - ภายใน 1วันหลังจากได้รับแจ้งจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี ทีม SRRT เข้าดำเนินการพ่นหมอกควันที่บ้านผู้ป่วย และบ้านที่อยู่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตรกับบ้านผู้ป่วย โดยพ่น 3ครั้ง ทุก 7วัน ติดตามเฝ้าระวังการระบาด ค้นหาบุคคลสงสัยติดเชื้อ หรือ ผู้ป่วยเชิงรุก ผ่านช่องทางต่างๆ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น ช่วยให้ควบคุมการระบาดและรักษาได้ทันท่วงที ลดความรุนแรงและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก

ค่าใช้จ่าย 1. สเปรย์ฉีดยุง ขนาด 600 มล. x 22 กระป๋อง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน  2,640  บาท ( 2 กระป๋อง/ บ้านที่พบผู้ป่วย/ครั้ง ) 2. โลชั่นทากันยุง 120 บาท x 7 แพ็ค เป็นเงิน 840 บาท

          รวมเป็นเงิน  3,480 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,330.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566
2.ประชาชนได้รับความรู้และทักษะการป้องกันโรคไข้เลือดออกและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>