กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกายโรงเรียนบ้านโคกม่วง (ดำประชาอุทิศ) ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ)

โรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

70.00
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

80.00
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

 

10.00
4 ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

 

2.00

ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของนักเรียนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับหน้าจอมือถือ วันละหลายๆชั่วโมงติดต่อกัน จนส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันและทำให้เด็กไม่เห็นความสำคัญของการเรียน ปฏิเสธที่จะทำการบ้าน แค่ใช้เวลาการเล่นเกม ดูคลิป หรือใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น สายตาเสื่อม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภาวะเครียด รวมถึงการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
จากการสำรวจข้อมูลพบว่านักเรียนในโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) มีโทรศัพท์มือถือร้อยละ 75 และใช้เวลากับการเล่นโทรศัพท์มือถือในกิจกรรมยามว่างหลังเลิกเรียนและกลางคืน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียน โดยนักเรียนไม่สามารถแยกแยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้โทรศัพท์ได้ นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน จึงส่งผลกระทบต่อการเรียน ประกอบกับในช่วงเวลากลางคืนมักใช้เวลากับการใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป ทำให้พักผ่อนไม่เพี่ยงพอ จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วย นักเรียนหลายคนมีกิจกรรมทางกายน้อยลง ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ดังนั้น โรงเรียนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมนิสัยการใช้ชีวิตที่สมดุล โรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการลดการใช้โทรศัพท์เพิ่มการขยับและออกกำลังกายโรงเรียนบ้านโคกม่วง (ดำประชาอุทิศ) ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อสร้างกิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการใช้โทรศัพท์มือถือ หันมาเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีต่อสุขภาพด้วยการออกกำลังกายผ่านการเล่นที่มีกิจกรรมทางกาย (Active Play) ให้มากขึ้น เพื่อทดแทนการเล่นสมาร์ทโฟน โดยเลือกเป็นการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์ฯเด็กเล็ก เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง โดยเพิ่มการขยับและออกกำลังกายให้มากขึ้น อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของนักเรียนภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนอกจากนั้นยังวางแผนส่งเสริมสุขภาพของชุมชน โดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการออกกำลังกายในเวลาเย็นอีกด้วยการสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสุขกายกายและสุขภาพจิตที่ดีให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลจากโทรศัพท์มือถือ สามารถช่วยเด็กได้กลับมาใช้ชีวิตที่ดีขึ้น
โดยจัดทำโครงการ “ลดการใช้โทรศัพท์ เพิ่มการขยับและออกกำลังกาย” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนลดเวลาการใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม และเพิ่มพฤติกรรมการขยับร่างกายหรือออกกำลังกายในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์ฯเด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

70.00 85.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือ

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือ

50.00 80.00
3 เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียน

ร้อยละของนักเรียนที่ลดการใช้โทรศัพท์มือถือ

25.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 107
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 23/04/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจการใช้โทรศัพท์มือถือภายในครอบครัว (0 บาท)
  • สำรวจข้อมูลสุขภาพร่างกายนักเรียน (0 บาท)
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในครอบครัวก่อนเริ่มโครงการ
  2. ได้ข้อมูลสุขภาพร่างกายนักเรียนก่อนเริ่มโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง ภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง ภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่อง ภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือ จำนวน 2 รุ่น แก่กลุ่มเป้าหมาย (นักเรียน จำนวน 107 คน และผู้ปกครอง จำนวน 80 คน) จำนวนครึ่งวัน ดังนี้
กำหนดการ
12.45 - 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 - 13.30 น. พิธีเปิด/ทำแบบทดสอบก่อนอบรม
13.30 - 15.30 น. อบรมให้ความรู้ เรื่อง ภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือ /ตอบข้อซักถาม/ทำแบบทดสอบหลังอบรม
* 14.00 - 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท (จำนวน 2 รุ่นๆละ 2 ชั่วโมง) เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 187 คนๆละ 25 บาท (1 มื้อ) เป็นเงิน 4,675 บาท
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจภัยทางสุขภาพที่เกิดจากการติดโทรศัพท์มือถือ
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจภัยทางสุขภาพที่เกิดจากการติดโทรศัพท์มือถือ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7075.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยเพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์ฯเด็กเล็ก ให้นักเรียนเลือกทำกิจกรรมออกกำลังกายตามความสมัครใจ (เล่นวอลเลย์บอลและฟุตบอล) ค่าใช้จ่าย ดังนี้
จัดซื้ออุปกรณ์กีฬา เป็นเงิน 4,980 บาท ดังนี้
-ลูกวอลเลย์บอล จำนวน 2 ลูกๆละ 1800 เป็นเงิน 3,600 บาท
-ลูกฟุตบอล จำนวน 2 ลูกๆละ 500 เป็นเงิน 1,000 บาท
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ผู้ปกครอง มีอุปกรณ์กีฬาเพื่อใช้ในกิจกรรมทางกายอย่างพอเพียงและตามความสนใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามกิจกรรมทางกาย และติดตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกิจกรรมทางกาย และติดตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน (มาจากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างชั้นละ 10 คน)โดยติดตามทุก 3 เดือน โดยใช้แบบบันทึกกิจกรรม(0 บาท)
  • ติดตามสำรวจข้อมูลสุขภาพร่างกายเบื้องต้นของนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเช่น การวัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย เป็นต้น ทุก 3 เดือน (0 บาท)
  • สรุปรายงานโครงการ
    ค่าใช้จ่าย ดังนี้
    -แบบบันทึกกิจกรรม จำนวน 107 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,070 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 19 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีเครื่องมือในการเก็บบันทึกกิจกรรมเพียงพอ
  2. ได้ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในครอบครัวหลังดำเนินโครงการ
  3. ได้ข้อมูลสุขภาพร่างกายนักเรียนหลังดำเนินโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1070.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,745.00 บาท

หมายเหตุ :
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้*

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือลดลงและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภัยทางสุขภาพจากการติดโทรศัพท์มือถือมากขึ้น


>