กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตลิ่งชัน

1. นายอาหมัด ตระกูลกลกิจ ประธาน
2. นางรัญชนา หมะหลี กรรมการ
3. นางสาวมัตตรีญา เจะหนิ กรรมการ
4. นางสาวนาตยา ชูเขียว กรรมการ
5. นางสาวบุศราพรรณ เพชรโรจน์ กรรมการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน หมู่ 2 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยรุ่นขาดทักษะเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์เกี่ยวกับเพศ

 

45.12
2 ร้อยละของเด็กวัยรุ่นขาดการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

 

41.39

ปัจจุบัน ผลกระทบที่สำคัญที่ทำให้เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น นอกจากปัญหายาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และเป็นการตั้งครรภ์นอกสมรสจากผลการสำรวจพบว่า วัยรุ่นมีความรู้เรื่อง เพศศึกษาการคุมกำเนิดการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง ขาดทักษะในการป้องกันตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อพฤติกรรม ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวจบลงด้วยการต้องออกจากโรงเรียนกลางครัน และปัญหาการหย่าร้างกับสามี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น บุตร ครอบครัว และสังคมต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน และชมรม อสม. ได้เล็งเห็นปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกัน และแก้ไขดังกล่าวโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยรุ่นมีทักษะเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์เกี่ยวกับเพศ

ร้อยละของเด็กวัยรุ่นขาดทักษะเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์เกี่ยวกับเพศ

45.12 45.47
2 เพื่อให้เด็กวัยรุ่นมีทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กวัยรุ่นขาดการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

41.39 53.18

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ และชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ และชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่.รพ.สต.ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน เพื่อกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตลิ่งชัน โครงการเพิ่มพลังใจวัยรุ่น อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
  3. จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในการดำเนินการจัดทำ ถึงวิธีการ หลักการ การดำเนินการต่างๆ
  4. ประสานกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-15 ปี จำนวน 100 คน เพื่อดำเนินการในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์/สถานที่/เอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินการตามโครงการ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 8 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 สิงหาคม 2567 ถึง 5 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้รับรู้แผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่และ อสม.ประจำหมู่บ้านลงพื้นที่ในชุมชน รับสมัครกลุ่มเป้าหมาย วัยรุ่นตอนต้น ช่วงอายุ 10-15 ปี จำนวน 100 คน เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ
  2. จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 รุ่นๆ ละ 1 วันๆ ละ 50 คน โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลจะนะ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 4 ส่วน คือ
  • ช่วงที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรในประเทศไทย

  • ช่วงที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายกับหญิง

  • ช่วงที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ การป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

  • ช่วงที่ 4 สรุปประเด็น และประเมินผลหลังการจัดกิจกรรม

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน คณะทำงาน จำนวน 8 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะทำงาน จำนวน 8 คน จำนวน 4 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรหลัก จำนวน 1 คน 2 วัน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรหลัก จำนวน 2 คน 2 วัน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.5 เมตร (ตารางเมตรละ 150 บาท)เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา สมุด จำนวน 100 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่
  1. ค่ากระดาษ จำนวน 1 รีมๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 140 บาท
  2. ปากกาเคมี จำนวน 2 โหลๆ ละ 168 บาท เป็นเงิน 336 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 สิงหาคม 2567 ถึง 13 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กวัยรุ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25526.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามจำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์ในวัยเรียน โดย อสม. และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข
  2. สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน
  • ค่าเล่มรายงานผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่มๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์ในวัยเรียน และผลการดำเนินงานโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,026.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้เด็กวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
2. เพื่อให้เด็กวัยรุ่นมีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
3. เพื่อให้เด็กวัยรุ่นตระหนักและมีองค์ความรู้เรื่องบทบาทและเห็นคุณค่าความภาคภูมิใจในตนเอง
4. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในเด็กวัยรุ่นประชาชนได้ออกกำลังกาย ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหา ด้านสุขภาพ


>