2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๖๗ (๓) บัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๖) และ (๓๙) บัญญัติให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ปัจจุบันการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจำนวนประชากรเกิดอย่างรวดเร็วเพราะเมื่อใดก็ตามที่ประชาชนเกิดความเจ็บป่วยหรือเกิดโรคขึ้น จะทำให้ต้องสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาล สูญเสียเวลาในการประกอบอาชีพ สูญเสียรายได้ และอาจต้องสูญเสียชีวิติได้ โดยทั่วไปจะพบว่าประชาชนเป็นจำนวนมากมีสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ มีการเจ็บป่วย ความพิการ และเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรด้วยโรคที่ทราบสาเหตุ และสามารถป้องกันได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดเนื่องจากความบกพร่องและไม่ตระหนักในความสำคัญของการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการจัดการการรักษาพยาบาลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตลอดทั้งความเหมาะสมในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน การมุ่งหวังให้ประชาชน “มีสุขภาพดีถ้วนหน้า” ได้ย่อมหมายถึงการกระทำใด ที่จะกำจัดสิ่งต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน นั่นคือการที่สามารถป้องกันโรค และเมื่อเจ็บป่วยสามารถวินิจฉัยโรคตั้งแต่แรกเริ่มได้ และได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ตลอดทั้งการได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพดีถ้วนหน้านั้น ได้มีการจัดการบริการสุขภาพ โดยมีองค์ประกอบของการบริการสุขภาพ จะเห็นได้ว่า การควบคุม และป้องกันโรคมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และชุมชน
เนื่องจากในปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของโรคติดต่อตามฤดูกาลเกิดขึ้นหลายโรค ตลอดทั้งปีมีการระบาดของโรคติดต่อตามฤดูกาลมากมาย อาทิโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ โรคไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า และโรคคอตีบเป็นต้น ซึ่งในชุมชนและสถานศึกษาเป็นแหล่งที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่เชื้อโรค อาจทำให้เกิดการระบาดในกลุ่มนักเรียน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และลดผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง จึงได้จัดทำโครงการ รณรงค์โรคติดต่อตามฤดูกาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเขตตำบลไทรทอง ได้มีความรู้ และความสามารถป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อตามฤดูกาล และตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
๑ เพื่อให้นักเรียนรับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล
๒ เพื่อให้ประชาชนในตำบลไทรทองรับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีความตระหนักรู้จักป้องกันโรคตามฤดูกาล
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/08/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑ นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล
๒ ประชาชนมีความตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีในการป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล