กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

กองสาธารณสุข อบต.ปิตูมุดี

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่น ๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไข้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมัสยิดเป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทยมุสลิมอำเภอยะรังตั้งเป้าหมายดำเนินงานให้เป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งในการดำเนินการจะพัฒนาทั้งด้านโครงสร้าง ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มประชาชน และการส่งเสริมสุขภาพโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการ เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่มากที่สุด
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปิตูมุดี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเพื่อสนองตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 โดยเน้นจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้เอื้อต่อการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้นำศาสนาและผู้ประกอบศาสนกิจ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาให้ศาสนสถานเป็นแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมของประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อเสริมสร้างนิสัยการรักสะอาดในศาสนสถาน
2 เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในศาสนสถานให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
3 เพื่อให้มีสถานที่ออกกำลังกายนวดฝ่าเท้าให้ผู้สูงอายุ
4 ผู้นำศาสนาเป็นแบบอย่างและส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการมัสยิด และประชาชนในพื้นที่ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ชื่อกิจกรรม
โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1    จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่น 2    จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
3    ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ 4    กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การคัดกรอง NCD  และการจัดการขยะ การดูแลความสะอาดรักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณมัสยิด แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
5    กิจกรรมสร้างสถานที่ออกกำลังกายให้แก่ศาสนสถาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนมีจิตสำนึกและเห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะจากครัวเรือนของตนเอง
2 ปริมาณขยะลดลงก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี
3 ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะโดยชุมชน
4มีการคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์และลดปริมาณมูลฝอยที่จะนำไปกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น
5 ประชาชนในชุมชนเกิดความเข้มแข็งในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ


>