กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างทักษะเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤต “เด็กไทยไม่จมน้ำ”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

งานบริหารงานสาธารณสุข สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

โรงเรียนในพื้นที่ตำบลเกาะบ้าและสระว่ายน้ำเทศบาลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีทักษะว่ายน้ำที่ถูกต้อง

 

30.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มร้อยละของเด็กนักเรียนฝึกทักษะว่ายน้ำเป็น

ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีทักษะว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 70

30.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 132
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดการอบรมให้ความรู้ แก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า

ชื่อกิจกรรม
จัดการอบรมให้ความรู้ แก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า โดยสอน
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น -การช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น - เรียนการใช้อุปกรณ์ขั้นพื้นฐานการช่วยเหลือทางน้ำ การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่ตกน้ำจมน้ำ
การส่งต่อผู้ที่จมน้ำไปยังโรงพยาบาลชุมชนอย่างถูกวิธี การจัดหาอุปกรณ์ในการช่วยเหลือไว้บริเวณสระน้ำที่มีความเสี่ยง

1.ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.4 * 1.2 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 576 บาทเป็นเงิน 576 บาท 2.ค่าวิทยากร (ภาคทฤษฎี) จำนวน 2 คน คนละ 1.30 ชม. เป็นเวลา 5 วัน วันละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ ) จำนวน 10 คน x 25 บาท x 5 วัน เป็นเงินจำนวน 1,250 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับเด็กนักเรียน) จำนวน 132 คน x 25 บาท เป็นเงินจำนวน 3,300 บาท 5.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ ) จำนวน 10 คน x 60 บาท x 5 วัน เป็นเงินจำนวน 3,000 บาท 6.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม (สำหรับเด็กนักเรียน) จำนวน 132 คน x 60 บาท เป็นเงินจำนวน 7,920 บาท

รวมทั้งสิ้น 25,046 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า มีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น และเรื่องการใช้อุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน  การช่วยเหลือทางน้ำ การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่ตกน้ำจมน้ำ
การส่งต่อผู้ที่จมน้ำไปยังโรงพยาบาลชุมชนอย่างถูกวิธี การจัดหาอุปกรณ์ในการช่วยเหลือไว้บริเวณสระน้ำที่มีความเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25046.00

กิจกรรมที่ 2 ภาคปฏิบัติ สาธิตวิธีการว่ายน้ำเป็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ชื่อกิจกรรม
ภาคปฏิบัติ สาธิตวิธีการว่ายน้ำเป็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมภาคปฏิบัติ สาธิตวิธีการว่ายน้ำเป็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
-  การว่ายน้ำ -  การลอยตัวในน้ำ -  การใช้อุปกรณ์ขั้นพื้นฐานช่วยเหลือทางน้ำ 1.ค่าวิทยากร (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 4 คน แบ่งเป็นกลุ่ม 2 กลุ่มๆ ละ 2 คน เวลา 5 วัน วันละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ ) จำนวน 10 คน x 25 บาท x 5 วัน เป็นเงินจำนวน 1,250 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับเด็กนักเรียน) จำนวน 132 คน x 25 บาท เป็นเงินจำนวน 3,300 บาท 4.ค่าเช่าสถานที่ สระว่ายน้ำ 5 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท 5.ค่าอุปกรณ์สาธิต (ชุดว่ายน้ำและหมวก) จำนวน 25 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นจำนวน 12,500 บาท

รวมเป็นเงิน 55,550   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนสามารถเรียนรู้วิธีการว่ายน้ำเป็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยการลงมือปฏิบัติ -  การว่ายน้ำ -  การลอยตัวในน้ำ -  การใช้อุปกรณ์ขั้นพื้นฐานช่วยเหลือทางน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,596.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70
2.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้จักวิธีการช่วยเหลือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำอย่างถูกต้อง
3.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีทักษะการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย


>