กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมผู้ดูแลและเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลประจัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1.นางแวนูรีตาบูงอ
2.นายแวอุเซ็งกาโฮง
3.นางสาวนิตยา หลีหมัน
4.นายมะรูดิงยาโงะ
5.นางสาวปาอีซะห์ โต๊อีแม

เขตพื้นที่ ตำบลประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพสังคมในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัยทั้งนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียนโดยบุตรหลานวัยทำงานต้องดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดการชะลอตัวค่าครองชีพเครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุบางรายปล่อยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพังด้วยเงินเบี้ยยังชีพเท่านั้นผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาสหลายรายในสังคมมีโรคประจำตัวหรือต้องเป็นผู้ติดเตียงไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรมต่างๆบางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไปจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรในตำบลประจัน มีจำนวนผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการจำนวนหลายคน ซึ่งยังไม่ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วน ถูกต้องและมีความต่อเนื่องทั้ง 3 มิติคือ ทางด้านกาย จิตและสัมพันธภาพ ซึ่งทำให้ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึงพิงตำบลประจัน ได้จัดทำโครงการอบรมผู้ดูแลและเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เพื่อให้ผู้ดูแลและกลุ่ม Care giver มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ติดเตียงและผู้พิการ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ติดเตียงและผู้พิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อให้มีการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุ ติดเตียง ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นครบทั้ง 3 มิติดังที่กล่าวมาข้างต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่ออบรมผู้ดูแลผู้ป่วยและกลุ่มจิตอาสาให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ติดเตียงและผู้พิการ
2. เพื่อให้ผู้ป่วยผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. เพื่อให้ผู้ป่วยผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 34
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 43
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/08/2024

กำหนดเสร็จ 20/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมผู้ดูแลและเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลประจัน

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมผู้ดูแลและเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลประจัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพได้อนุมัติโครงการอบรมผู้ดูแลและเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลประจัน ประจำปี 2567 เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 4/2567 วันที่ 1 สิงหาคม 2567 จำนวน 32,955 บาท หมวดเงินฝาก สปสช. แผนงานสารธารณสุข งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณสุข หมวดรายจ่ายค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ เพื่อจัดทำโครงการอบรมผู้ดูแลและเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลประจัน ประจำปี 2567 นั้น ตามรายละเอียด ดังนี้ - ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตรเป็นเงิน900 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 77 รายๆละ 35 บาทจำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน5,390 บาท
- ค่าอาหารกลางวันไม่มีแอลกอฮอล์ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 77 รายๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ
รวมเป็นเงิน5,775 บาท - ค่าวิทยากรบรรยายอบรมให้ความรู้ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน3,600 บาท - ค่าวัสดุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม (กระเป๋า+สมุด+ปากกา) จำนวน 77 ชุดๆละ 70 บาท
รวมเป็นเงิน5,390 บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น (ของเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการในตำบลประจัน 34 ชุด) ชุดละ 350 บาท
รวมเป็นเงิน 11,900บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,955.00 บาท เงินสามหมื่นสองพันเก้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้ดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือดสมองสามารถทราบวิธีการส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพจิตการกายภาพเบื้องต้น การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วย ๒ .ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมเยียน ๓. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงได้รับกำลังใจและสามารถที่จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข 4. ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 5. ผู้ป่วยสงสัยรายใหม่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยรักษาจากแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน 6. กลุ่ม Care giverสามารถประเมิน ADL ได้ และประเมินอาการผู้ป่วยให้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32955.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,955.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองสามารถทราบวิธีการส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพจิตการกายภาพเบื้องต้น การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วย
๒ .ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมเยียน
๓. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงได้รับกำลังใจและสามารถที่จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข
4. ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
5. ผู้ป่วยสงสัยรายใหม่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยรักษาจากแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน
6. กลุ่ม Care giverสามารถประเมิน ADL ได้ และประเมินอาการผู้ป่วยให้ดีขึ้น


>