กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กบือแนสุขภาพดี โภชนาการตามเกณฑ์ ห่างไกลซีดประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน

1.นางปาตีเมาะ อาเยาะแซ
2.นางสาวแวซำซียะ ปารามัล
3.นางสาวนิตยาหลีหมัน
4.นายมะรูดิงยาโงะ
5.นางสาวปาอีซะห์โต๊ะอีแม

เขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแนรับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็ก เป็นรากฐานที่สำคัญของการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีทางด้านร่างกาย และจิตใจ และเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่ได้รับการดูแลหรือส่งเสริมที่ถูกวิธีกลายเป็นเด็กขาดสารอาหาร จะก่อให้เกิดผลเสียในทุกช่วงอายุ ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านสมองและโครงสร้างของร่างกาย ทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตไม่สมวัย เด็กที่มีภาวะเตี้ย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีรูปร่างเล็ก นอกจากนี้ยังส่งผลให้การสร้างภูมิต้านทานโรคลดลง เป็นผลให้เจ็บป่วยบ่อย
จากรายงานการสำรวจขององค์การ UNICEFในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของเด็กอายุ 1-3 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการสูงที่สุดในประเทศไทย โดยจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส มีค่าเฉลี่ยของเด็กทุพโภชนาการอยู่ที่ร้อยละ 19.3, 21.2 และ 29.0 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเด็กทุพโภชนาการของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 เท่านั้น จากประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานทุพโภชนาการเด็ก ช่วงอายุ 1-3 ปี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ทุพโภชนาการเด็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ภาวะทุพโภชนาการเด็กเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ คือ 1) ปัจจัยกายภาพของเด็ก พบว่า น้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และผอมลง ถึง 4 เท่า 2) ปัจจัยครอบครัว พบว่า แม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะซีดเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงการฝากครรภ์ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจนทำให้ไม่มีค่าเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล และยินดีคลอดกับหมอตำแยในชุมชน 3) ปัจจัยสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมพบว่า คนในพื้นที่มีค่านิยมและความเชื่อเรื่องการดูแลแม่หลังตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์สมัยใหม่ และ 4) ปัจจัยจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ พบว่า เด็กในครอบครัวที่โดนหมายค้น หรือมีบุคคลในครอบครัวโดนหมายจับคดีความมั่นคงมีภาวะทุพโภชนาการ เพราะครอบครัวหวาดระแวงจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ มีการย้ายถิ่นฐานและหลายครอบครัวนำเด็ก ช่วงอายุ 1 - 3 ปี ติดตามไปด้วยส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด และยังพบว่าเด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ผู้สูงอายุดูแลหรือให้พี่เลี้ยงน้อง (เด็กเลี้ยงเด็ก) ซึ่งขาดทักษะการเลี้ยงดู เด็กจึงถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และมีภาวะเจ็บป่วยง่าย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ยังส่งผลให้เกิดภัยคุกคามทางสุขภาพ ซึ่งในปี 2561 พบว่า มีอัตราการสูญเสียชีวิตของเด็กจากการป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 34 ราย และยังพบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบือแนปีแน ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่พบว่าปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเป็นหนึ่งปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากพบเด็กอายุ 1 - 3 ปี ในปีงบประมาณ 2566 ไตรมาสที่ 4 พบว่ามีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 31.7 ซึ่งภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสมองของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตให้หยุดชะงัก มีผลต่อระดับสติปัญญาไม่ดี และทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย (Singhasame, Suwanwaha, &Sarakshetrin, 2017)
ภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ซึ่งมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ จึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับลูก และสามารถจัดจานอาหารที่สวยงามเพื่อเพิ่มความต้องการอยากรับประทานอาหารของเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อสร้างนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการ ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 1-3 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/08/2024

กำหนดเสร็จ 20/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเด็กบือแนสุขภาพดี โภชนาการตามเกณฑ์ ห่างไกลซีดประจำปี 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการเด็กบือแนสุขภาพดี โภชนาการตามเกณฑ์ ห่างไกลซีดประจำปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม.
1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล 40 คน X 70 บาท X 1 มื้อ X 1 ครั้ง                   เป็นเงิน 2,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล 40 คน X 30 บาท X 2 มื้อ X 1 ครั้ง            เป็นเงิน 2,400 บาท
3. ค่าไวนิลขนาด 1.2*2.5 เมตร เป็นเงิน 1,200 บาท
(รวมเงิน 6,400 บาท) กิจกรรมที่2 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและภาวะซีดในเด็ก 1-3 ปี ให้กับผู้ปกครอง
1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล 30 คน X 70 บาท X 1 มื้อ X 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล 30 คน X 30 บาท X 2 มื้อ X 1 ครั้ง  เป็นเงิน 1,800บาท
3. . ค่าวิทยากรผู้เข้าอบรม จำนวน 1 คนๆละ 600 บาท 6 ชั่วโมง x 1 วัน  เป็นเงิน 3,6๐0 บาท
(รวมเงิน 7,500 บาท)
กิจกรรมที่3 กิจกรรมเจาะเลือดเพื่อหาภาวะซีดในเด็ก 1-3 ปี
1. ค่าอาหารว่างและเครื่อง 30 คน X 30 บาท X 1 ครั้ง
เป็นเงิน 900 บาท
(รวมเงิน 900 บาท)
กิจกรรมที่4 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กที่ภาวะโภชนาการต่ำ
1. ค่านม จำนวน 30 คน วันละ 1 กล่อง ๆ ละ 10 บาท 30 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท 2. ค่าไข่ จำนวน 30 คน  วันละ 1 ฟองๆ ละ 5 บาท จำนวน 30 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท (รวมเงิน 13,500 บาท)
กิจกรรมที่1 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 3 เดือน
1.ค่าติดตามเยี่ยมบ้านโดยอสม.จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 50บาทจำนวน 30 คน เป็นเงิน 4,500บาท
(รวมเงิน 4,500 บาท)
1. กระดาษชาร์ท 10 แผ่น ๆละ 5 บาท                                     เป็นเงิน 50  บาท
2. ปากกาเคมี ด้ามละ 12  ด้าม ๆละ 15 บาท                            เป็นเงิน 225  บาท 3. คู่มือ ติดตามกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการ รายบุคคล 30 เล่ม ๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200บาท

รวมเป็นเงิน 1,475 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 34,275.00 บาท (เงินสามหมื่นสี่พันสองร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต(Output)/ผลลัพธ์(Outcome) 1.  ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย
2.  สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้พ่อแม่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.  เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย
2.  เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 1 - 3 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต(Output)/ผลลัพธ์(Outcome)
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย
2. สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้พ่อแม่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย
2. เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 1 - 3 ปี
งบประมาณโครงการ


>