กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนบูเกะคละใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ 6 บ้านบูเกะคละ

1.นางรอดียะสะละ ประธานกรรมการ
2.นางสาวซูไม้ย๊ะห์มะลี รองประธาน
3.นางสาวอานีซะห์ยือริง เลขานุการ
4.นางรูสมาโซะสุมากรรมการ
5.นางสาวนูไอนีดีแลตานา กรรมการ

หมู่ที่ 6 ตำบลบุดีอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสีย ทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดโรคคือ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆเมื่อมี อายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้แต่กรรมพันธุ์ ปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเศษฐกิจ
ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ 6 บ้านบูเกะคละมีครัวเรือน 365 ครัวเรือน พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี พ.ศ. 2566 สูงขึ้น ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 106 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 34คน ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ชมรม อสม.หมู่ 6 บ้านบ้านบูเกะคละ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนบูเกะคละใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเรื้อรัง ขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยและช่วยป้องกันโรค ให้ประชาชนในพื้นที่ ให้มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน

ร้อยละ 80 ของ ประชาชนอายุ 35 ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ

1.00 1.00
2 2. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท                                                 เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว จำนวน 2 เครื่อง x 1,500 บาท                                                 เป็นเงิน 3,000 บาท
    3.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง x 1,000 บาท
    เป็นเงิน 1,000 บาท 4.กระเป๋าเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 1 ใบ x 1,000 บาท
    เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
-อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 40 คน
                                                        เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท  จำนวน 40 คน
                                                        เป็นเงิน 2,800 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 คน
                                                         เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ ทุกเดือน
2. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน


>