กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รั้วตะวันใสใจสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านรั้วตะวัน

1.นางกัลมานีสะเตงประธานกรรมการ
2.นางสาวอัสนีโพธาราม รองประธาน
3.นางสาวซากียะร์สะมุเด็งเลขานุการ
4.นางบีซะวาเด็งกรรมการ
5.นางนูรีลาซีรอแม กรรมการ

หมู่ที่ 7 ตำบลบุดี อำเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีการดำเนินชีวิติย่างเร่งรีบแข่งขันกับเวลาจึงทำให้ไม่มีเวลา ในการดูแลตนเองและครอบครัว เกิดการดูแลตนเองและครอบครัวน้อยลง ไม่มีการออกกำลังกายจึงทำให้วิถีชีวติมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการรีบเร่งในการทำงาน การบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง และขาดการออกกำลัง
กายควบคู่ ทำให้เกิดอาการเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยทำให้เกิดโรค NCD ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านการสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยเสี่ยง และมีการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ดังนั้น โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ การรับประทานอาหารให้ครบตามหลัก 5 หมู่ และให้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ
ในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ 7 บ้านรั้วตะวัน พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานณ วันที่ 30 กันยายน 2566 จำนวน 171 ราย ชมรม อสม. หมู่ 7 บ้านรั้วตะวัน มีความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการรั้วตะวันใสใจสุขภาพดีนี้ เพื่อให้เราสามารถรักษาประชาชน ให้มีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดอัตราป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 แกนนำสุขภาพ ได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน

ร้อยละ 80 ของ แกนนำสุขภาพ ได้รับการตรวจสุขภาพ

1.00 1.00
2 แกนนำสุขภาพ ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ ได้รับความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

1.00 1.00
3 ประชาชนในพื้นที่มีการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 – 60 นาที

ร้อยละ 80 ประชาชนในพื้นที่มีการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 – 60 นาที

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท                                                  เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ค่าวงล้อหมุนประเมินสุขภาพจำนวน 1  เครื่อง x 1,700 บาท                                                     เป็นเงิน 1,700 บาท
    3.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 1,000 บาท


    เป็นเงิน 2,000 บาท 4.กระเป๋าเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 1 ใบ x 1,000 บาท
    เป็นเงิน 1,000 บาท 5.หน้ากากอนามัย จำนวน3 กล่อง×80                                               เป็นเงิน  240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9940.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน -ให้ความรู้เรื่อง การออกกำลังกาย 3 อ 2 ส

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน -ให้ความรู้เรื่อง การออกกำลังกาย 3 อ 2 ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 50 คน
                                                        เป็นเงิน 3,750 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท  จำนวน 50 คน
                                                        เป็นเงิน 3,500 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 คน
                                                         เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน อายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ 3 เดือน
2. แกนนำสุขภาพ ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการออกำลังกายเบื้องต้นที่ถูกต้อง
3. ประชาชนมีการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 – 60 นาที
4. เกิดชมรมการออกกำลังกายภายในหมู่บ้าน


>