กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านบาลูกาบารูสุขภาพดี ชีวีมีสุข ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านบาลูกาบารู

1.นายมะรอนิงบินอุมัรประธานกรรมการ
2.นาย ฮาดาฟีมะดงแซรองประธาน
3.นางมารีบะเบ็งสะมะบุดี เลขานุการ
4.นางสาวสปีเยาะสะมะแอเจ๊ะมะกรรมการ
5.นางสุไบดะศรีตุลาการ กรรมการ

หมู่ที่ 9 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ncd) เป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้โดยประชาชนจะต้องดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียด นอกจากนี้ประชาชนยังต้องป้องกันตนเอง ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการวัดความดันโลหิตและการเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การรณรงค์ให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป มีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิต และเจาะระดับน้ำตาลในเลือด เป็นกลวิธีที่สำคัญในการสร้างกระแสการรับรู้ ให้มีความตื่นตัว เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยวัดความดันโลหิตและเจาะระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นทางชมรม อสม. ม9 บ้านบาลูกาบารู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพของประชาชน จึงจะดำเนินการจัดทำโครงการ บ้านบาลูกาบารูสุขภาพดี ชีวีมีสุข ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง เพื่อให้บริการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิตและเจาะระดับน้ำตาลในเลือดแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังค้นหากลุ่มเสี่ยง และคัดกรองผู้ป่วยในชุมชนบลูกาบารู และอบรมไห้ความรู้เพื่อให้ประชาชนได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพตลอดจนการให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่จำเป็น และสอดคล้องกับปัญหาของโรคในชุมชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเองได้

ร้อยละ 80 ของ ประชาชนอายุ 35 ขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพ และแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเองได้

1.00 1.00
2 2. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงได้รับความรู้เรื่องเรื่องความสำคัญของสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงได้รับความรู้เรื่องความสำคัญของสุขภาพและโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท                                                 เป็นเงิน 5,000 บาท 2. ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว จำนวน 2 เครื่อง x 1,500 บาท                                                 เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง x 1,000 บาท
   เป็นเงิน 1,000 บาท 4.กระเป๋าเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 1 ใบ x 1,000 บาท
เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 50 คน
                                                        เป็นเงิน 3,750 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท  จำนวน 50 คน
                                                        เป็นเงิน 3,500 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 คน
                                                         เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

กิจกรรมที่ 3 - ออกกำลังกายสัปดาห์ละ2วันๆละ 45 นาที

ชื่อกิจกรรม
- ออกกำลังกายสัปดาห์ละ2วันๆละ 45 นาที
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ
2. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
3. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


>