กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัย ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์

1.นางสารอ มูหะมะสาเล็ม ผอ.รพ.สต.
2.นางสาวอาตียะห์ บาราเฮง ผช.นวก.สาธารณสุข
3.นางสาวยียะห์ มะแซ ประธานหมู่(อสม.)
4.นางสาวนูรียะห์ สามะ ประธานหมู่ (อสม.)
5.นางนัสรีณี ศรีท่าด่าน ประธานหมู่ (อสม.)
เบอร์โทร 0992183011

หมู่ที่ 1-5 ตำบลตะโละกาโปร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

17.40
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

17.80

การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็ก เป็นรากฐานที่สำคัญของการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีทางด้านร่างกาย และจิตใจ และเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่ได้รับการดูแลหรือส่งเสริมที่ถูกวิธีกลายเป็นเด็กขาดสารอาหาร จะก่อให้เกิดผลเสียในทุกช่วงอายุ ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านสมองและโครงสร้างของร่างกาย ทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตไม่สมวัย เด็กที่มีภาวะเตี้ย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีรูปร่างเล็ก นอกจากนี้ยังส่งผลให้การสร้างภูมิต้านทานโรคลดลง เป็นผลให้เจ็บป่วยบ่อย
อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ 3 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลียงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 - 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ ปี 2567 มีเด็กอายุ 0 - 5 ปีทั้งหมด 649 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทั้งหมด 275 คน คิดเป็นร้อยละ 42.37%มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 108 คน คิดเป็นร้อยละ17.84ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ภาวะทุพโภชนาการมีไม่เกินร้อยละ 7 จากข้อมูลสถิติจะเห็นไห้ได้ว่า เด็กอายุ 0 - 5 ปี ในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย ส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสมองของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตให้หยุดชะงัก มีผลต่อระดับสติปัญญาไม่ดี และทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย (Singhasame, Suwanwaha, & Sarakshetrin, 2017)
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาทุพโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0 – 5 ปี เป็นหนึ่งปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขยังเร่งด่วน จึงได้จัดทำโครงการ“โครงการโภชนาการดีพัฒนาการสมวัย ” ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็ก บิดามารดาและผู้ปกครองเด็กได้มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการให้อาหารเสริมตามวัยรวมถึงการสังเกต และส่งเสริมพัฒนาการของลูกเพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับการดูแลและมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ พัฒนาการที่สมบูรณ์เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

17.40 7.00
2 เพื่อลดภาวะเตี้ยในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

17.80 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 110
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 110
อสม.แกนนำ 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมในการเก็บข้อมูลภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 20 คน X 30 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อสม.มีความพร้อมในการเก็บข้อมูลภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และผู้ปครองดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และผู้ปครองดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การประกอบอาหารส่งเสริมโภชนาการเด็ก

  • ค่าอาหารกลางวัน 115 คน X 60 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 6,900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่อง 115 คน X 30 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 3,450 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 ม. x 2.5 ม.จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดแนวทางจัดการภาวะทุพโภชนาการ
2.ข้อตกลงร่วมการจัดการภาวะทุพโภชนาการ
3.เกิดความตระหนักแก่ผู้ปกครองมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12900.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาเมนูอาหาร FOOD FOR GOOD

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาเมนูอาหาร FOOD FOR GOOD
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำปฏิทินอาหารรายเดือน เพื่อโภชนาการที่ดีขึ้น

  • ค่าอาหารว่างและเครื่อง 30 คน X 30 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 30 คน X 60 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุอุกรณ์จัดทำปฏิทินอาหาร จำนวน 100 เล่มๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเมนูอาหารที่หลากหลายที่สามารถกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4650.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้อาหารเสริมนมและเมนูจากไข่ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและด้อยโอกาส
- ค่านม จำนวน 30 คน วันละ 1 กล่อง ๆละ 15 บาท 90 วัน เป็นเงิน 40,500 บาท
- ค่าไข่ จำนวน 30 คน วันละ 1 ฟองๆ ละ 6 บาท จำนวน 90 วัน เป็นเงิน 16,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับนม/ไข่ไก่ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูงตามเกณฑ์ และสูงดีสมส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56700.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียน โภขนาการดี พัฒนาการสมวัย

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน โภขนาการดี พัฒนาการสมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ถอดบทเรียน โภขนาการดีพัฒนาการสมวัย
- ค่าอาหารว่างและเครื่อง 30 คน X 30 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 900 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ความตระหนักเรื่องภาวะโภชนาการมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กอายุ 0-5 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูงตามเกณฑ์ และสูงดีสมส่วน
ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการประกอบอาหารตามโภชนาการ


>