กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็ก 0-5 ปี ตำบลระแว้งโภชนาการดีด้วยมื้ออาหารคุณภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง

นางสาวมายีดะห์ วาโมง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวไซนะย์ ตาเละ ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุช

ตำบลระแว้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

8.28
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

2.76
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5ปี มีภาวะโภชนาการสมวัย

 

79.72

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

8.28 5.00
2 เพื่อลดภาวะอ้วน ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

2.76 2.00
3 เพื่อเพิ่มร้อยละของเด็กอายุ 0-5ปี มีภาวะโภชนาการสมวัย

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5ปี มีภาวะโภชนาการสมวัยเพิ่มขึ้น

79.72 85.00

เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นโอกาสทองในการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปีเป็นวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้น ร่างกายจึงมีความต้องการพลังงานและ สารอาหารค่อนข้างสูง การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆอย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้เด็ก มีร่างกายแข็งแรง โดยผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูจะต้องรู้ ตั้งแต่เรื่องพัฒนาการด้านการกินของลูก หลักการจัดอาหารในแต่ละช่วงวัย และพฤติกรรมโภชนาการที่ยังเป็นปัญหาในเด็กปฐมวัย นอกจากจะเลี้ยงดูเด็กให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อให้เจริญเติบโตพร้อมทั้งมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกให้รู้จักเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด
ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กปลูกฝังให้บุตร หลานมีพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็ก ได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และจะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย จากข้อมูลโภชนาการเด็กเล็ก 0-5ปี ในพื้นที่ ตำบลระแว้งปี 2567 มีเด็กเล็กจำนวน 434 คน พบว่าเด็กเหล่านี้มีภาวะสูงดี/สมส่วนจำนวน 346 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.72 และมีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.76 และทุพโภชนาการ (ผอม)จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.28
จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้งจึงได้จัดทำโครงการเด็ก 0-5 ปี ตำบลระแว้งโภชนาการดีด้วยมื้ออาหารคุณภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและมีภาวะโภชนาการสมวัย ภายใต้การมีส่วนร่วมของครบครัวและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูผู้ดูแลเด็ก 3
ผู้ปกครองเด็ก 50
แม่ครัว ศพด.และโรงเรียน 3

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กอ้วน และผอม

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กอ้วน และผอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กอ้วน และผอม
1.1 ครูผู้ดูแลเด็ก
- กรณีเด็กอ้วน กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นม กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
1.2 ผู้ปกครอง
- กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม
-กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
งบประมาณ
1.ค่าไวนิลประชาสัมพัธ์ขนาด1.2x2.5 เมตรเป็นเงิน750บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน 56คน x 60บาท เป็นเงิน 6,720บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 56คน x 25บาทx2มื้อ เป็นเงิน 2,800บาท
4.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม. x 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
5.ค่าวงล้อสาธิตปริมาณอาหารเด็ก 0-5ปี 1ชุด เป็นเงิน1,570บาท
รวม 15,440 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2568 ถึง 5 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กอ้วน และผอม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15440.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาทักษะการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาทักษะการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาทักษะการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการเด็ก ให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร จำนวน 56 คน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน 56คน x 60บาท เป็นเงิน 3,360บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 56คน x 25บาทx2มื้อ เป็นเงิน 2,800บาท
3.ค่าวิทยากรสาธิตเมนูอาหาร จำนวน 6 ชม. x 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าอาหารเมนูสาธิต เช่น ไก่ ไข่ วุ้นเส้น ผัก เป็นต้น จำนวน 4 เมนูๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
รวม 10,960 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2568 ถึง 6 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมโภนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10960.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมให้ครูและเด็กใน ศพด.ออกกำลังกายโดยกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มีนาคม 2568 ถึง 7 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ร่วมกันทุกวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประกวด1สถานศึกษา1กิจกรรมลดผอมลดอ้วน

ชื่อกิจกรรม
ประกวด1สถานศึกษา1กิจกรรมลดผอมลดอ้วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้ดูแลเด็กจัดกิจกรรมลดผอม ลดอ้วน
2.ลงรายละเอียดกิจกรรมในแบบฟอร์มที่กำหนด ส่งประกวดที่ รพ.สต. 3 รพ.สต.จัดอันดับและมอบเกียรติบัติให้โรงเรียน งบประมาณ 1.เกียรติบัตรพร้อมกรอบชิ้นละ 200 บาท จำนวน 3ชิ้น เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 14 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมลดอ้วน ลดผอม โรงเรียนละ 1 กิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 5 ประกวด1ครอบครัว1กิจกรรมลดผอมลดอ้วน

ชื่อกิจกรรม
ประกวด1ครอบครัว1กิจกรรมลดผอมลดอ้วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ผู้ปกครองเด็กจัดกิจกรรมลดผอม ลดอ้วน
2.ลงรายละเอียดกิจกรรมในแบบฟอร์มที่กำหนด และส่งประกวดที่ รพ.สต. 3 รพ.สต.จัดอันดับและมอบเกียรติบัติให้ผู้ปกครองที่เข้าร่วมส่งประกวดที่ รพ.สต งบประมาณ 1.เกียรติบัตรพร้อมกรอบชิ้นละ 200 บาท จำนวน 10ชิ้น เป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 13 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมลดอ้วน ลดผอม ผู้ปกครองเด็ก โดยผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กอ้วน และผอมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมโภนาการเด็ก ลดอ้วน ลดผอม
3.เกิดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ร่วมกันทุกวันเกิดทักษะการสร้างสรรค์และปรับเปรียบพฤติกรรมเด็กอ้วน และเด็กผอมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.เกิดกิจกรรมลดอ้วน ลดผอมในโรงเรียน และ สามารถนำความรู้ที่ได้ในกิจกรรมมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้
5.เกิดกิจกรรมลดอ้วน ลดผอมในครัวเรือน โดยผู้ปกครองทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กอ้วน และเด็กผอมภายในครอบครัวได้


>