กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

รพ.สต.ทุ่งลาน

ตำบลทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและสาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัดเช่น หวานจัดเค็มจัดอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกายและความเครียด  เป็นต้น
จากการตรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ด้วยการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานมีแนวโน้มของผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นจากการคัดกรองพบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในปี 2566 เป้าหมายประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,571 คน คัดกรองได้จำนวน 2,047 คน คิดเป็นร้อยละ 79.62 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน264 คน คิดเป็นร้อยละ 12.90 สงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 7.72 และคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 3,087 คน คัดกรองได้จำนวน 2,277 คน คิดเป็นร้อยละ 73.90 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 598 คน คิดเป็นร้อยละ 26.26 สงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 0.61
ดังนั้นทางซึ่งผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นความสำคัญของการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้องรัง ของประชาชนในตำบลทุ่งลานจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง เพื่อลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 80
  2. กลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่เข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการ เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ได้ ร้อยละ80
0.00 0.00
2 2.เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดสมอง

1.กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน    มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงร้อยละ 80 2.กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อจัดทำโครงการฯ ไม่ใช้งบประมาณ กันยายน2567 2. ประสานงานกับผู้นำท้องถิ่นร่วมกันวางแผน ดำเนินการจัดทำโครงการ และประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ไม่ใช้งบประมาณ กันยายน 2567 3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยแบ่งเป็น 4 ฐานความรู้ (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน เป็นจำนวน 100 คน) -ค่าวิทยากร 600 X 6 ชม.X 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 100 คน X 30 X 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 100 คน X 80เป็นเงิน 8,000 บาท -แถบตรวจน้ำตาลในเลือด 100 ชิ้นเป็นเงิน 800 บาท -เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว 100 ชิ้นเป็นเงิน 400 บาท -ค่าจัดทำเอกสาร/แผ่นพับให้ความรู้ (NCDs)ประกอบการอบรมกลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 ชุด ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
-ป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน ผืนละ 600 บาทเป็นเงิน 600 บาท กันยายน 2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง  ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้  ทำให้ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนต่าง ๆในระยะยาวได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>