2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การบริโภคอาหารโปรตีนและไขมันสูงที่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ล้วนๆ อาหารรสจัด เช่น มันจัด เค็มจัด กินผักและผลไม้น้อย เดินน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย โดยเฉพาะคนวัยทำงาน ทำให้พลังงานในร่างกายไม่สมดุลกันระหว่างการได้รับเข้าไปกับการนำออกมาใช้ ร่างกายจึงเปลี่ยนพลังงานที่เหลือใช้กลับไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคติดต่อ เช่น ความดันดลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงเป็นต้น
หมู่ที่ 2 บ้านหัวควน ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลน้ำผุด อ.ละงู จังหวัดสตูล อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ มีพื้นที่เป็นเขตเกษตรกรรมมีที่นาและภูเขารวมถึงสวนยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา และทำนา รวมถึงงานรับจ้างอื่น มีจำนวนหลังคาเรือน303 หลังคาเรือนมีประชากรเพศชาย 553 คน เพศหญิง 585 คน รวมทั้งสิ้น1,138คนประชากรอายุ 15ปีขึ้นไป 888 คน มีจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น หรือข้อมูลการคัดกรองสุขภาพอายุ 15ปีขึ้นไปของหมู่ที่ 2 บ้านหัวควน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567จำนวนคัดกรอง 789 คน พบสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังนี้
เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 238คน เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 102 คน โรคอ้วนลงพุง จำนวน452 คนในจำนวนนี้มีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มีอายุตั้งแต่ 15ปีขึ้นไป ที่ชุมชนคาดหวังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส จำนวน..120....คน โดยเมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย พบว่าส่วนใหญ่ มีการบริโภคอาหารที่ยังไม่ถูกต้อง เช่น การทานอาหารจำพวกแป้งมากกว่าพืชผัก การใช้เครื่องปรุงในการปรุงอาหารมากกว่า 3 ชนิด รวมถึงการทานกาแฟแบบสำเร็จรูป นิยมอาหารรสหวาน มัน เค็ม เช่น โรตี ข้าวหมกไก่ ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวยำ ลูกชิ้นทอด ชาเย็น เป็นต้น ไม่มีกิจกรรมการออกกำลังกาย วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนใหญ่การออกกำลังกายจะเป็นกิจกรรมทางกายที่มาจากการประกอบอาชีพ ซึ่งไม่สม่ำเสมอซึ่งมีพื้นที่การออกกำลังกาย แต่ยังการรวมกลุ่มและขาดแกนนำในการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬานิยมในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงานคิดว่าตนเองทำงานเหนื่อยล้าแล้ว และผู้สูงอายุไม่ได้ใช้พื้นที่ส่วนรวมในการออกกำลังกาย มักจะเดินแถวบ้าน จากปัญหาและสาเหตุข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่สำคัญที่ควรแก้ไขเป็นลำดับแรกคือ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่หวาน มัน เค็ม รองลงมาคือ การไม่ออกกำลังกาย ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยง และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะมีความรุนแรงและผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและการสูญเสียคุณภาพชีวิต ด้วยเหตุนี้ทางชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านหัวควนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน จึงได้เสนอโครงการลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงปี 2567 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพตามหลักการที่ถูกต้อง ที่มุ่งผลลัพธ์ให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี ลดการเจ็บป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเรื้อรังได้ในอนาคต
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 02/09/2024
กำหนดเสร็จ 16/12/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีค่าน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตสูง
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมี่การออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
4. โครงการแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 กลุ่มเสี่ยง อายุ 18 - 35 ปี ที่มีความเสี่ยง
- กลุ่มที่ 2 กลุ่มเสี่ยง อายุ 35 - 60 ปีที่มีความเสี่ยง