กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแซงบาดาล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รณรงค์และป้องกันการเตรียมการป้องกันไฟป่า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแซงบาดาล

สำนักปลัด เทศบาลตำบลแซงบาดาล

เทศบาลตำบลแซงบาดาล อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

 

96.52
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

 

24.24

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

96.52 98.00
2 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

24.24 23.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 29/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะอนุกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน เพื่อทบทวนข้อมูลสถานการณ์หมอกควันไฟป่าในพื้นที่ 2.ระดมความคิดเห็นจุดสำคัญที่เกิดไฟป่า และการเผาตอซาง การเผาอ้อยในพื้นที่ สาเหตุปัญหา ผลกระทบ 3.กำหนดแผนงาน/กิจกรรม การขับเคลื่อนมาตรการลดปัญหาหมอกควันจากการเผาป่า ไร่นา ในพื้นที่ตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้กลไกการขับเคลื่อนมาตรการการป้องกันไฟป่า การเผาอ้อยและตอซางข้าว ในพื้นที่ 2.ได้แผนงาน/กิจกรรมเพื่อรณรงค์ ลดพฤติกรรมการเผาป่า ไร่นา ของเกษตรกรในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์เฝ้าระวังและเตรียมการไฟป่า

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เฝ้าระวังและเตรียมการไฟป่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รณรงค์ผ่านเสียงตามสายทุกหมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจให้คนในชุมชนตระหนักถึงพิษภัยของการเผาป่า การเผาไร่นาในพื้นที่เกษตร 2.ถ่ายทอดมาตรการ นโยบายการขับเคลื่อนด้านการป้องกันไฟป่าให้ประชาชนรับทราบ 3.สร้างกลไกเฝ้าระวังการเกิดไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตรและพื้นที่สาธารณะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชารับรู้และให้ความสำคัญของผลกระทบการเผาป่า การเผาไร่นาพื้นที่เกษตรกรรม ที่มีผลต่อสุขภาพ 2.เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่าในระดับชุมชนที่ดำเนินการร่วมกันกับท้องถิ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 โครงการรณรงค์ให้ควันพิษจากไฟป่า เเละโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

ชื่อกิจกรรม
โครงการรณรงค์ให้ควันพิษจากไฟป่า เเละโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่ป่าสาธารณะ และป่าในตำบลเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดไฟป่าในพื้นที่ 2.ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากไฟป่า การเผาหญ้ารวมถึงพื้นที่การเกษตรอื่นๆ ที่มีต่อสุขภาพประชาชน 3.ขับเคลื่อนมาตรการเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่ร่วมกันทุกหมู่บ้าน 4.จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่ป่าสาธารณะ และพื้นที่ทางการเกษตร

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นการจากเผาป่า เผาพื้นที่การเกษตร
2.เครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่ป่าสาธารณะ และพื้นที่ทางการเกษตรครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเผาป่าและพื้นที่การเกษตรในตำบล


>