กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดพุง ลดโรค กส. ร่วมใจ ต้านภัยจากโรคอ้วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา

1.นางสาวอมร ช่วยพันธ์
2.นางสาวรัชนี พร้อมมูล
3.นางประนอม ประยูร
4.นายพุทธิพงษ์ เอี่ยวสกุล
5.นางอรทัย คงสุวรรณ

โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การปัจจุบัน ที่อินเทอร์เน็ต เช้าถึงทุกชุมชน ทุกบ้านทุกสิ่งอย่างเป็นเรื่องงานผ่านระบบออนไลน์แล้วทั้งสิ้นรวมถึงอาหารการกิน ผ่านการสั่งออนไลน์นั่นหมายถึง ผู้คนในยุคนี้ นอนสั่งของอยู่กับบ้านเดี๋ยวร้านค้ามาส่งถึงประตูบ้าน ชำระเงินผ่านระบบออนไลน์เด็กและเยาวชนจึงมีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงกับโรคอ้วนคือ พฤติกรรมนอนเล่นเกมส์ท่องโลกอินเตอร์เน็ต สั่งของบริโภคออนไลน์หิวก็รับประทานอาหารได้จากการมาส่งของร้านค้าออนไลน์ทำให้เด็กและเยาวชนสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนเพราะร่างกายไม่ได้เผาผลาญแครอรี่ ซึ่งผู้ที่มีภาวะอ้วน จะส่งผลเสียกับร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ตามมา
ประกอบกับในปี พ.ศ.2567จากผลการคำนวณดัชนีมวลกายของโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา พบว่า บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา มีภาวะโรคอ้วน 54 ราย จากจำนวน 284 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.01 เนื่องจากสถานการณ์ความสะดวกสบายที่ได้รับจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และโลกออนไลน์นั้นทำให้บุคลากร และนักเรียนมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีความสะดวหสบายจนไม่ต้องไปซื้อหา ทำให้การออกกำลังกายได้ขาดหายไปโดยนักเรียนใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านมากกว่าการมาเรียนที่โรงเรียน อาศัยการเรียนที่บ้านเป็นกิจวัตรประจำวัน ขาดการออกกำลังกาย และมีกิจกรรมทางกายลดน้อยลง ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนในอัตราที่สูง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดดังนั้น งานอนามัยโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาจึงเห็นความสำคัญของปัญหาการเกิดโรคดังกล่าว จึงได้จัดโครงการลดพุง ลดโรคร้าย กส. ร่วมใจต้านภัยจากโรคอ้วน ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน ทั้งในส่วนของบุคลากร และนักเรียน และเพื่อลดการเกิดโรคอ้วน รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากภาวะโรคอ้วน

ร้อยละ 100 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากภาวะโรคอ้วน

0.00
2 ส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้ออกกำลังกายในการเต้นแอร์โรบิคอย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วัน

ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้เต้นแอร์โรบิค สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นอย่างน้อย

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีร่างกายแข็งแรง ค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์

ร้อยละ 65 ของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 265
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากร 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. คัดกรองนักเรียน และบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย
-ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว
-คำนวณค่าดัชนีมวลกาย

กลุ่มเป้าหมาย
-นักเรียน จำนวน 260 คน
- บุคลากร จำนวน 24 คน
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้กับนักเรียนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการอบรม

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้กับนักเรียนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดอบรมให้ความรู้ในหัวข้อดังต่อไปนี้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งในส่วนของการบริโภค และการออกกำลังกาย
- ภาวะโรคแทรกซ้อนอันเกิดจากโรคอ้วน ตระหนักเกี่ยวกับโรค ตามหลัก 3อ 2 ส
- การคำนวณค่าดัชนีมวลกายกับผู้เข้าร่วมโครงการ
2. มีการประเมินความรู้ ก่อนและหลังเข้ารับการอบรม
กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 36 คน
- บุคลากร จำนวน 18 คน
- คณะทำงาน 5 คน
- อาหารว่าง และเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 59 คน คนละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,475 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
งบประมาณ 3,275 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3275.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. กิจกรรมออกกำลังกาย โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามความชอบ และวัยโดยออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์
กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนจำนวน 36 ราย
- บุคลากรจำนวน 18ราย
- นักเรียนและบุคลากรอื่น ๆจำนวน230 ราย
2. งบประมาณ
- โต๊ะปิงปอง 1 โต๊ะ ขนาด 152 ซม. x27.4 ซม.เป็นเงิน 6,500 บาท
- ลูกวอลเลย์บอล1 ลูกเป็นเงิน 2,650 บาท
- ลูกตะกร้อจำนวน 3 ลูก ๆ ละ 280 บาทเป็นเงิน 840 บาท
งบประมาณ 9,990 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9990.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลค่าดัชนีมวลกายเป็นรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลค่าดัชนีมวลกายเป็นรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย

- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว
- คำนวณค่าดัชนีมวลกาย
- เปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย ก่อน-หลัง การดำเนินกิจกรรม
2. กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนจำนวน 36 คน
- บุคลากรจำนวน 18 คน
- นักเรียน และบุคลากรอื่นจำนวน 230 คน
3. งบประมาณ0.00 บาท
งบประมาณ
- เป็นเงิน 0.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 400 บาท
    งบประมาณ 400.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2568 ถึง 31 ตุลาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,665.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากภาวะโรคอ้วน
2. กลุ่มเป้าหมาย ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง ต่อสัปดาห์
3. กลุ่มเป้าหมาย มีค่าดัชนีมวลกายลดลง


>