กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลและคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฎฐณิชา สมจิตร
3. นางกิตติยา พรหมปาน
4. นางสาวเบญจมาศ เกื้อสุข

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

21.45
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพ

 

95.00

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete-Aged-Society) ในปี พ.ศ 2564ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพเศรษฐกิจและสังคม การเตรียมการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพที่เรื้อรังซึ่่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการคัดกรองหรืแประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อจัดการวางแผนส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพที่เสี่ยง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้ จากการดำเนินงานผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2567ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 594 คน ได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ทั้งหมด 10 หมวด จำนวน 547 คน คิดเป็นร้อยละ 94.40 ผลการประเมิน พบว่า มากที่สุด กลุ่มติดสังคม ร้อยละ 98.02รองลงมากลุ่มติด[hko ร้อยละ1.49 และกลุ่มติดเตียง ร้อยละ 0.49 และการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน พบว่า ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ การเคลื่อนไหว ภาวะหกล้ม โภชนาการ สุขภาพช่องปาก สมองเสื่อมเป็นต้นดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงจัดโครงการดูแลและคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และช่วยเหลือตามความจำเป็น ทำให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพ ร้อยละ 97

95.00 97.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

21.45 17.00

1.เพื่อคัดกรองภาวะความเสี่ยงด้านการเคลื่อนไหว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 594
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ตรวจประเมินและคัดกรองการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ และ จัดหากายอุปกรณ์ ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตรวจประเมินและคัดกรองการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ และ จัดหากายอุปกรณ์ ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดหากายอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เป็นเงิน 15,000 บาท

2.ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินการคัดกรองผู้สูงอายุฯจำนวน 594 ชุดๆละ 5 บาท เป็นเงิน 2,970 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวได้รับการสนับสนุนกายอุปกรณ์ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17970.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุหรือญาติของผู้สูงอายุที่ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุหรือญาติของผู้สูงอายุที่ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

3.ค่าวัสดุสำหรับการอบรม 2,750 บาท

รวมเป็นเงิน 5,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง 2.ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวที่ได้รับการสนับสนุนกายอุปกรณ์ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุกราย โดยทีมสหวิชาชีพ ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวที่ได้รับการสนับสนุนกายอุปกรณ์ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 มีคลินิกผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
มีคลินิกผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีคลินิกผู้สูงอายุ เปิดกิจกรรม เดือนละ 1ครั้ง

1.ค่าป้ายคลินิกผู้สุงอายุเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คลินิกผู้สูงอายุ 1 คลินิก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
2.ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
3.อัตราการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุลดลง


>