กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนก กลิ่นรส
2. นางสาวณัฎฐณิชา สมจิตร
3. นางสาวเบญจมาศ เกื้อสุข
4. ยางกิตติยา พรหมปาน

หฒุ่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

12.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

25.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

20.00

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยข้อมูลจากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยพบว่าในปี 2560 นั้นมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตรวจพบทั้งหมดในเมืองไทยคือ 4,400,000 ราย และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกในทุกๆปี นอกจากนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รายงานผลการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนกว่าร้อยละ 80 ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่า เฉลี่ยร้อยละ 12.23 ของผู้ได้รับการคัดกรอง หรือกว่า 3,424,400 คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากยังไม่มีมาตรการป้องกันและรักษาพยาบาลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ดี เมื่อเวลาผ่านไปผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานเหล่านี้จะมีโอกาสกลายโรคเบาหวานในระยะ 5-10 ปี ด้วยเหตุผลนี้การลดโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยลดผลกระทบและภาระโรคที่เกิดจากโรคเบาหวานได้สำหรับประเทศไทยและความชุกของคนไทยที่อ้วน ร้อยละ 37 พ.ศ. 2558 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 7,171.90 อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 27.27 มีอัตราอุบัติการณ์โรคเบาหวานต่อแสนประชากร 601.41 อำเภอเมืองพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 8,993.24 มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร46.41 มีอัตราอุบัติการณ์โรคเบาหวานต่อแสนประชากร 601.41 ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว รับผิดชอบพื้นที่ หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง มีประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,300 คน มีความชุกของโรคเบาหวาน ร้อยละ 11.54ความชุกโรคเบาหวาน ร้อยละ29.92 ซึ่งอัตราป่วยของประชาชนในพื้นที่เป็นภาระด้านการรักษาพยาบาลของชาติจึงมีความจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นประจำทุกปีเพื่อลดการป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

12.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

25.00 20.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

20.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,300
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/10/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรอองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรอองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เข็มเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 26 กล่องๆละ 50 ชิ้น ราคากล่องละ 250 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
  2. แถบตรวจวัดน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วมือ จำนวน 26 กล่องๆละ 50 ชิ้น ราคากล่องละ 700 บาท เป็นเงิน 18,200 บาท
  3. เคื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7500 บาท
  4. เครื่องชั่งน้ำหนักแบบระบบดิจิทอล จำนวน 3 เครื่องๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ตุลาคม 2567 ถึง 18 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสุขภาพกลุ่มเสี่ยงฯ จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสุขภาพกลุ่มเสี่ยงฯ จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่งโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ  50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  4. ดำเนินกิจกรรม DPAC สุขใจไร้พุง
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองพบว่ายังมีความเสี่ยงพบแพทย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองพบว่ายังมีความเสี่ยงพบแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงซ้้ำ
  2. กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองซ้ำยังพบความเสี่ยงส่งต่อพบแพทย์
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2569 ถึง 4 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำทุกคน
  2. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานยังพบความเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 การติดตามเยี่ยมบ้าน/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้/การประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การติดตามเยี่ยมบ้าน/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้/การประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  4. เยี่ยมครัวเรือนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื่องการบริโภคหวาน มัน เค็ม
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทุกคน
  2. ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกคน
  3. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกกลุ่ม
  4. เยี่ยมครัวเรือนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื่องการบริโภคหวาน มัน เค็ม ทุกครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.2
3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้รายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 2.7


>