2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงประมาณ 3,000 ราย มักพบโรคในวัย 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้อที่เรียกว่า อะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) เป็นโรคมะเร็งที่สามารถทำการตรวจหาได้ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถทำการรักษาให้หายได้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะลุกลาม และลดอัตราการตายได้ด้วยพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางประเภทมาก หรือน้อยเกินไป เช่น การบริโภคเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ และบริโภคอาหารที่มีกากใย น้อยลง (สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง ทั้งสิ้น การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในระยะเริ่มแรกที่นิยมปฏิบัติมี หลากหลายวิธี และในจำนวนการทดสอบ (test) ทั้งหมดการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง (Fecal immunochemical test) สามารถช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เนื่องจากมีการตรวจพบ ความผิดปกติของมะเร็งในระยะเริ่มต้นก่อน ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันก่อนพัฒนาไปสู่มะเร็งเต็มขั้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชากรกลุ่มอายุ 50-70 ปีจำนวน 655 คนเข้าถึงการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ(Fecal immunochemical test) อย่างน้อยร้อยละ 20 และถ้าผลการตรวจเป็นบวกจะทำการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมมะเร็ง โดยให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกรวมถึงค้นหาติ่งเนื้อชนิด adenomatous polyp เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้องและทันท่วงที ลดอัตราการตายและการลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/07/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนอายุ 50 – 70 ปี กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลาม
2.ผู้ที่ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100
3.ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100
4.ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 50-70 ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำใส้ใหญ่และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งลำใส้ใหญ่เพิ่มขึ้น
5.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่