กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายอุทิศ คงทอง
2. นางหนูอั้น ไข่ทอง
3. นางศรีอมร ฉิ้มสังข์
4. นางปรีดา เทพชนะ
5. นายสมโชค คงเกตุ

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

35.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

15.00
3 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

50.00
4 ร้านจำหน่ายของชำในชุมชนไม่ได้มาตรฐาน

 

10.00

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ ได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลงผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงาน ดังกล่าวอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่อง ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และต้องใช้เวลาในการย่อยสลายซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบและขบวน การกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้ ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ การบริโภคอาหารที่ใส่กล่องโฟม เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน มีประชากรรับผิดชอบ 2,739 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 629 หลังประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้าง เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน วิถีชีวิตชนบทโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารตามสั่ง อาหารปรุงสุกที่บรรจุกล่องโฟม ที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื่อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นในบริบทพื้นที่ชุมชน ครอบคลุม ร้านขายของชำในชุมชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนสุขภาพที่ดี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจาการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

50.00 10.00
2 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

15.00 5.00
3 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

35.00 28.00
4 เพื่อลดร้อยละของร้านจำหน่ายของชำในชุมชนไม่ได้มาตรฐาน

ร้อยละของร้านจำหน่ายของชำในชุมชนไม่ได้มาตรฐาน

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,793
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวเครือข่ายคุ้มครองผูบริโภค ผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านชำ (ร้านชำ 15 คน ผู้นำชุมชน 9 คน อสม. 53 คน แกนนำครอบครัว 3 คน)

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวเครือข่ายคุ้มครองผูบริโภค ผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านชำ (ร้านชำ 15 คน ผู้นำชุมชน 9 คน อสม. 53 คน แกนนำครอบครัว 3 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว  เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค  ผู้นำชุมชน  เจ้าของร้านชำ  ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านชำ
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  4. ค่าชุดตรวจปรอท ร้านชำ เป็นเงิน 1,000 บาท
  5. ค่าค่าชุดตรวจเสตียร์รอย ร้านชำ ชุดละ 2,800 บาท (20 ชิ้น) เป็นเงิน 2,800 บาท
  6. ชุดตรวจเครื่องสำอาง จำนวน 1 ชุด (10 ชิ้น) เป็นเงิน 480 บาท
  7. ชุดตรวจคิวโน จำนวน 1 ชุด (20 ชิ้น) เป็นเงิน480 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16360.00

กิจกรรมที่ 2 2. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคออกตรวจประเมินร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
2. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคออกตรวจประเมินร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ออกตรวจประเมินร้านขายของชำในพื้นที่ จำนวน 15 ร้าน
  2. ให้คำแนะนำปรับปรุงร้าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านขายของชำ จำนวน 15 ร้าย ได้รับการตรวจประเมิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. ติดตามและประเมินผล ร้านขายของชำที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
3. ติดตามและประเมินผล ร้านขายของชำที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค  ติดตามและประเมินผลร้านขายของชำที่ยังไม่ผ่านการประเมินร้านชำคุณภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าของร้านชำ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้นำชุมชน รับรู้ข้อมูลร้านชำคุณภาพร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4. คืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
4. คืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคคืนข้อมูล และเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านหอกระจายข่าว  ประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน
  2. มอบป้ายร้านชำคุณภาพ จำนวน 15 ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 4500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค คืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุภาพครอบครัวเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคผู้นำชุมชนเจ้าของร้านชำมีความรู้ มีทักษะ ในการเฝ้าระวังคุณภาพ ความปลอดภัย ของอาหาร ทุกคน
2. ไม่พบสารต้องห้านในร้านขายของชำ ทุกร้าน
3. ร้านขายของชำทุกร้านผ่านเกณฑ์คุณภาพร้านชำคุณภาพ


>