กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางพรภิรมย์ ด้วงเล็ก รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

12.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.00

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมที่สะสมเป็นเวลาหลายปี แต่ละปีมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังดังกล่าว เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและมีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น พบว่าอัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกันซึ่งโรคเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย คิดเป็นร้อยละ 72 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ปีงบประมาณ 2567 มีประชากรอายุ 35 ปีที่ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 92.26 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 20.93 มีผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย (ร้อยละ 0.16) กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 4.76 พบรายใหม่ 2 ราย (ร้อยละ 0.16) ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ได้ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดที่รับผิดชอบ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงแม้อายุไม่ครบ 35 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2568 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,200 คน ที่จำเป็นต้องได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น การดำเนินงานดังกล่าวเป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในปีถัดไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

12.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

22.00 20.00
3 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 92

90.26 92.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 7 กล่อง ๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
  2. แถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน26 กล่อง ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท
  3. เครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  4. เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 1,200 แผ่น ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42900.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้าน ตีท้ายครัว (2 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน ตีท้ายครัว (2 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ เยี่ยมบ้าน เก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ (ตรวจวัดระดับความเค็ม-หวานในอาหาร การนอน การออกกำลังกาย ภาวะความเครียด)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ (ระดับความเค็ม-หวานในอาหาร การนอน การออกกำลังกาย ภาวะความเครียด)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายและตัวแทน อสม./ติดตามประเมินผล (2 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายและตัวแทน อสม./ติดตามประเมินผล (2 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 62 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

•  กลุ่มเสี่ยงมีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตลดลง
•  บุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,600.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
- บุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- กลุ่มเสี่ยงมีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตลดลง


>