2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน และมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวางในจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ ๑ ม.ค. ๖๗ – ๒๔ ส.ค.๖๗ พบผู้ป่วยแล้ว ๑,๐๘๖ ราย เสียชีวิต ๑ ราย (ป่าพะยอม) อัตราป่วย ๕ อันดับแรกจำแนกเป็นอำเภอ ดังนี้ ๑. อำเภอกงหรา อัตราป่วย ๓๐๗.๒/แสนประชากร ๒. อำเภอตะโหมด อัตราป่วย ๒๘๐.๗/แสนประชากร ๓. อำเภอบางแก้ว อัตราป่วย ๒๗๑.๒/แสนประชากร ๔. อำเภอเขาชัยสน อัตราป่วย ๒๑๕.๙/แสนประชากร ๕. อำเภอปากพะยูน อัตราป่วย ๒๐๙.๐/แสนประชากร อำเภอบางแก้ว ตั้งแต่ ๑ ม.ค. ๖๗ – ๓๐ ส.ค.๖๗ พบผู้ป่วยแล้ว ๕๘ ราย แยกเป็นรายตำบลดังนี้ อันดับที่๑ ตำบลโคกสัก ๒๔ ราย (๒๗๐.๗๖ ต่อแสนประชากร)อันดับ๒ ตำบลนาปะขอ ๒๐ ราย(๑๙๔.๘๙ ต่อแสนประชากร) และอันดับ๓ ตำบลท่ามะเดื่อ ๑๔ ราย(๑๙๒.๔๙ ต่อแสนประชากร) โดยเฉพาะในเดือน สิงหาคม ๒๕๖๗ พบผู้ป่วยในตำบลโคกสัก ๙ ราย ตำบลนาปะขอ ๔ ราย และตำบลท่ามะเดื่อ ๓ ราย แยกเป็นรายสถานบริการตั้งแต่ต้นปี ๑.รพ.สต.บ้านหนองบ่อ ๑๕ ราย ๒.รพ.บางแก้วและรพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า แห่งละ ๑๔ ราย ๓.รพ.สต.บ้านลอน และเกาะเคียน แห่งละ ๖ ราย และ๔.รพ.สต.บ้านต้นสน ๓ ราย และจากการวิเคราะห์อำเภอบางแก้ว จัดเป็นอำเภอระบาดตามเกณฑ์ และตำบลโคกสัก จัดเป็นตำบลที่เป็นพื้นที่ระบาดแล้ว เพราะเป็นตำบลที่มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกินกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังในช่วง ๔ สัปดาห์ล่าสุด และ มีการระบาดต่อเนื่องมากกว่า ๒๘ วัน (พบผู้ป่วยรายใหม่ต่อเนื่องกันโดยวันที่พบผู้ป่วย (วันที่วินิจฉัยสงสัยไข้เลือดออก) ของผู้ป่วยแต่ละรายทิ้งระยะกันไม่เกิน ๒๘ วัน และยังควบคุมโรคไม่ได้) ปัญหานี้ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานเดียวเพราะเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนที่จะหาแนวทางเพื่อควบคุมลูกน้ำ กำจัดยุงตัวแก่ทั้งในวิธีกายภาพ ชีวภาพและเคมี
เพื่อให้การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเชิงรุกของชุมชนในความรับผิดชอบของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคนต้องมีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอ และเหมาะสมกับชุมชนพร้อมที่จะนำไปใช้ในการออกปฏิบัติงานควบคุม และป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นได้ทันท่วงทีภายใน ๓ ชั่วโมงก่อน หลังจากได้รับรายงาน ซึ่งสามารถที่จะปฏิบัติงานได้ทั้งในและนอกเวลาราชการ ในการนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหนองบ่อ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- ค่า HI CI ในชุมชน น้อยกว่าร้อยละ ๕
- ค่า HI CI ในสถานที่ราชการ วัด มัสยิด ต้องเท่ากับศูนย์
2. เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
- ไม่มีการระบาดของโรคในพื้นที่
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 20/09/2024
กำหนดเสร็จ 30/12/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?