กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง

ตำบลคูหาสวรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ปีงบประมาณ 2565-2567-กลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 32.47,19.67 และ 16.09 ตามลำดับ

22.74
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ปีงบประมาณ 2565-2567-กลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 33.64,31.31 และ 26.25 ตามลำดับ

30.34

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่น ตา ไตหลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มประชากรทุกเพศทุกวัยและประชากรที่เป็นโรคพบว่ามีอายุลดน้อยลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก
จากการจัดลำดับความสำคัญปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 ศูนย์ พบว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาอันดับ 1 และโรคเบาหวานเป็นปัญหาอันดับ 2 จากสถิติการคัดกรองโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูง ปี 2565-2567 พบว่า ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 92.84,91.32 และ 92.18 ตามลำดับ พบเป็นกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 32.47,19.67 และ 16.09 ตามลำดับ และได้รับการ คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 78.54,88.87 และ 84.09ตามลำดับ พบเป็นกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 33.64,31.31 และ 26.25 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
จากปัญหาดังกล่าว งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูงและคัดกรองประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการรับบริการคัดกรองและรับรู้วิธีลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง

ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ 90

90.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 60

60.00
3 ข้อ 3 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามแผนการดูแล

กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 4,780
กลุ่มผู้สูงอายุ 5,090
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม เตรียมงานก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม เตรียมงานก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ อสม. แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ประจำชุมชน จัดทำแผนการออกคัดกรองรายชุมชน
  • จัดสำรวจ/จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย เตรียมเอกสารการคัดกรอง เวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  • ประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการ งบประมาณ
    1.ค่าถ่ายเอกสาร 14,960 บาท -แบบฟอร์มคัดกรอง อายุ 35-59 ปี จำนวน 4,780 ชุด x 1 บาท= 4,780 บาท -แบบฟอร์มคัดกรอง อายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 5,090 ชุด x 2 บาท= 10,180บาท
  1. แถบตรวจน้ำตาลในเลือด 9,870 แถบ (99 กล่อง x 434 บาท) = 42,966 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57926.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรม ตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรม ตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในแต่ละชุมชนโดยการซักประวัติพฤติกรรมสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตสูง วัดระดับน้ำตาลในเลือด และแปรผลการคัดกรอง
  • ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเป้าหมาย
  • แบ่งกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยเจ้าหน้าที่และ อสม.เพื่อรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมให้คำแนะนำผู้ที่มีความเสี่ยง
  • ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ
  • บันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประเมินผลสรุปและประเมินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3.ประเมินผลสรุปและประเมินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลสรุปและประเมินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,926.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพพร้อมทั้งรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง
2. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ
3. จำแนกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
4. กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ


>