กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า

1.นายอนุเทพ อัลมาตร์


2.นายตรา เหมโคกน้อย


3.นายปรีชา ปันดีกา


4.นายเอกนรินทร์ ลัดเลีย


5.นางสาวนดา แย้มสุข

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

3.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

10.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

21.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

8.00
5 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

69.90

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (The Community Health Security Fund)"กองทุนสุขภาพตำบล"นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ
ของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกลสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้
เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2561 และประกาศฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2565 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุน
หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้

(1) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขโดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่
จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

(2) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่และกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มี
ลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อโครงการวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ

(3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแล ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนา
และดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแลดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่
สำนักงานกำหนด

(4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้
จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษา
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้

(6) ใช้จ่ายตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ประมาณการรายรับปีงบประมาณ 2568 ดังนี้

1.เงินที่ได้รับจัดสรรแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 507,150 บาท (ห้าแสนเจ็ดพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

2.เงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น25,4000บาท (สองแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน)

รวมเป็นเงิน 761,150 บาท (เจ็ดแสนหกหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนันสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 10(4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้
จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ ละปีงบประมาณ เป็นเงิน 152,000 บาท

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯให้แก่โครงการผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารการสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ90

90.00 95.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานสำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

10.00 20.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯโครงการด้านสุขภาพ (คน)

21.00 21.00
4 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

กองทุนฯมีการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการLTC 10
คณะกรรมการกองทุนฯ 21
คณะอนุกรรมการกองทุนฯ 13
คณะอนุกรรมการกองทุนฯ คณะทำงานกองทุนฯ

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานนอกสถานที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานนอกสถานที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนสุขภาพชุมชนประจำปี 2569 จำนวน 40 คนและแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานนอกสถานที่่

-ค่ารถ16,000 บาท

-ค่าที่พัก30,000 บาท

-ค่าวัสดุสำนักงาน 2,000 บาท

-ค่าของสมนาคุณ1,500 บาท

-ค่าเบี้ยเลี้ยง 40 คน X 240 บาท X2 วัน = 19,200 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม40 คน X35 บาท X 2 มื้อ= 2,800 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน 40 คน X80 บาท X 1 มื้อ= 3,200 บาท

-ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง X 600 บาท = 1,800 บาท

-ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง X 600 บาท = 3,600 บาท

รวมเป็นเงิน 80,100บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตมีผู้เข่าร่วมโครงการจัดทำแผน จำนวน 40 คน มี 7 หมู่บ้าน ผลลัพธ์ได้แผนสุขภาพชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการสนับสนุนจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการสนับสนุนจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ

ค่าตอบแทน 400 บ x 21 คน x 4 ครั้ง = 33,600 บาท

ค่าอาหารว่าง 35 บ x 21 คน x 4 ครั้ง = 2,940 บาท

2.2 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ คณะทำงานกองทุนฯ

ค่าตอบแทน 300 บ x 13 คน x 3 ครั้ง = 11,700 บาท

ค่าอาหารว่าง 35 บ x 13 คน x 3 ครั้ง = 1,365 บาท

2.3 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ LTC

ค่าตอบแทน 300บ x 10 คน x 2 ครั้ง = 6,000 บาท

ค่าอาหารว่าง 35 บ x 10 คน x 2 ครั้ง = 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของแผนงาน/โครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56305.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมค่าธรรมเนียมและค่าลงทะเบียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค่าธรรมเนียมและค่าลงทะเบียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าธรรมเนียมและค่าลงทะเบียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน คณะกรรมหาร LTC ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกกรมรายจ่ายเกี่ยวกับค่ารับรองและพิธีการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกกรมรายจ่ายเกี่ยวกับค่ารับรองและพิธีการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กองทุนมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2900.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมวัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารกองทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารกองทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนสามารถปฎิบัติงานได้อย่างคล่องตัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3695.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 152,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่สามารถจัดบริการสุขภาพด้วยตนเองได้

2.ประชาชนเข้าถึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

3.มีการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนฯอย่างน้อยร้อยละ 80

4.มีการบริหารจัดการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่วพิงและบุคคลอื่นได้อย่างต่อเนื่อง


>