กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนเยาวชนรุ่นใหม่ต้านภัยบุหรี่(บุหรี่ซอง/บุหรี่ไฟฟ้า)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

โรงเรียนวัดโคกแย้ม

โรงเรียนวัดโคกแย้ม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

20.22

บุหรี่จัดเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่ แม้ว่าจะทราบถึงพิษภัยจากการสูบบุหรี่เป็นอย่างดี องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2542 ประชากรที่สูบบุหรี่ทั่วโลกประมาณ 1,100 ล้านคน ซึ่งคาดว่าในปี 2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่จะเพิ่มเป็น 1,600 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทย จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี2547 พบว่า คนไทยสูบบุหรี่ประมาณ 11.3 ล้านคน เฉลี่ย 10.38 มวนต่อคนต่อวัน ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งในบุหรี่ 1มวน มีสารพิษมากกว่า 4000 ชนิด และสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เช่นเดียวกัน บุหรี่ไม่เพียงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สูบเพียงอย่างเดียว หากแต่ควันบุหรี่ในบรรยากาศ ยังคงเต็มไปด้วยสารพิษอันตรายต่างๆ ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายคนที่ไม่ได้สูบได้โดยง่าย และทำลายสุขภาพจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หายนะประเภทนี้กำลังเป็นที่น่าวิตกในสังคมซึ่งก็คือ “ควันบุหรี่มือสอง” นั่นเองในแต่ละปีมีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งควันบุหรี่ในบรรยากาศ หรือ ควันบุหรี่มือสองนั้นเกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ ทันทีที่บุหรี่ถูกจุดขึ้น การเผาไหม้ของมวนบุหรี่จะทำให้เกิดสารเคมีซึ่งเป็นสารพิษอันตราย ทั้งในควันที่สูดเข้าไปและควันที่ลอยอยู่ในอากาศ เป็นเหตุให้คนใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ไม่แพ้ผู้สูบนั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่นิยมสูบบุหรี่ เพื่อให้เพื่อนหรือสังคมยอมรับนับเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข
ดังนั้น โรงเรียนวัดโคกแย้ม ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการโครงการโรงเรียนเยาวชนรุ่นใหม่ด้านภัยบุหรี่ ขึ้นเพื่อให้เยาวชนในโรงเรียนมีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ รู้จักการปฏิเสธและสร้างเครือข่ายในเยาวชนให้มรจิตสำนึกที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

20.22 17.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 57
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 02/12/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมและวางแผนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมและวางแผนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมและวางแผน ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ร่วมคิดสื่อกับนักเรียน เช่นสื่อบุหรี่ สื่อภาพ และไวนิล โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อ จำนวน 65 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,625 บาท
2 ค่าไวนิลโครงการ 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
3 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่่อเช่นสื่อบุหรี่ สื่อภาพ เป็นเงิน 3,996 บาท รายละเอียดดังนี้
3.1 กาวลาเท็กซ์ 32 ออนซ์ จำนวน 2 ขวดๆละ 133 บาท เป็นเงิน 266 บาท
3.2 กระดาษแข็ง ขาว-เทา 20 แผ่นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท
3.3 สีไม้ 36 สี จำนวน 5 กล่องๆละ 186 บาท เป็นเงิน 930 บาท
3.4 ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 13 อันๆละ 150 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
3.5 ทำป้ายไวนิลชื่นชมผลงานนักเรียน ขนาด 1*1.5 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆละ 325 บาท เป็นเงิน 650 บาท
4. นำเสนอผลงานตอนพักกลางวัน
5. นำสื่อมาทำป้ายติดหน้าโรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้เยาวชน ได้มีความรู้และเกิดความตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่
2.เพื่อให้เยาวชนสามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสามารถแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่ให้แก่เพื่อน ครอบครัว ชุมชน และสังคมภายนอกได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6121.00

กิจกรรมที่ 2 เดินประชาสัมพันธ์และรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
เดินประชาสัมพันธ์และรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียน ครู และบุคลากรร่วมกันเดินประสัมพันธ์ ตั้งแต่ โรงเรียนวัดโคกแย้ม จนถึง ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 ไป-กลับ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ จำนวน 65 คนๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1,625 บาท
2 ค่าผ้าเย็นเช็ดหน้า จำนวน 65 คนๆละ 15 บาท เป็นเงิน 975 บาท
3 ค่าจ้างรถแห่ประชาสัมพันธ์ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 26 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
นักเรียน ครู และบุคลากรร่วมกันเดินประสัมพันธ์ 100%
ผลิตลัพธ์
นักเรียนมีความตระหนักและเข้าใจในเรื่องบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,921.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่ได้
2. ผู้เข้าอบรม มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่


>