กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยฟันสวยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง

นางประทีป มณี (หัวหน้าสถานศึกษา)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง 86 หมู่ที่ 4 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (2-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

33.33

ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากของเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นในการดูแลเอาใจใส่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางมีนักเรียน 45 คน ชาย 24 คน หญิง 21 คน พบว่านักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 สาเหตุที่ทำให้เด็กฟันผุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลความสะอาดของช่องปากที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดฟันผุ และเป็นการช่วยเหลือเด็กฟันที่ยังไม่ผุ ไม่ให้ฟันผุเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง ครู มึความรู้ในการดูแลสุขอนามัยในช่องปากเด็ก

ร้อยละของเด็กวัยเรียน(2-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุลดลงอย่างน้อย 7 คน

33.33 15.56

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพฟัน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขตรวจฟันนักเรียนทุกคน
-ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนดูแลรักษาฟันมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนและสาธิตการแปรงฟัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนและสาธิตการแปรงฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรบให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนและสาธิตการแปรงฟัน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
3. ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 55 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 550 บาท
4. ค่าอุปกรณ์การสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 45 ชุดๆละ 40 เป็นเงิน 1,800 บาท
5. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง ครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนและวิธีการแปรงฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5057.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขตรวจฟันนักเรียนทุกคน และติดตามรักษานักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากเป็นรายบุคคล
-ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีสุขภาพอนามัยในช่องปากดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประกวดหนูน้อยสุขภาพฟันดี

ชื่อกิจกรรม
ประกวดหนูน้อยสุขภาพฟันดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกวดหนูน้อยสุขภาพฟันดี โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตัดสิน จำนวน 2 คนๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท (นักเรียนที่เข้าร่วมประกวด ครู บุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
3. ค่าประกาศนียบัตรนักเรียนและของรางวัลที่ผ่านเกณฑ์หนูน้อยสุขภาพฟันดี เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,532.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกราบการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็ก ผู้ปกครอง ครูมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปาก


>