กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจากปัญหาภาวะอุทกภัยในพื้นที่ตำบลพิมาน ประจำปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กองสาธารณสุขแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล

นายสมศักดิ์ เหมรา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
นางสาวนิสากร บุุญช่วย หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข0815770759
นางสาวปารีดาหวันสู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ตำบลพิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก (หลังคาเรือน)

 

199.00
2 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนทุ่งเฉลิมสุข (หลังคาเรือน)

 

506.00
3 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนซอยปลาเค็ม (หลังคาเรือน)

 

293.00
4 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนชนาธิป (หลังคาเรือน)

 

260.00
5 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนห้องสมุด (หลังคาเรือน)

 

251.00
6 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนปานชูรำลึก (หลังคาเรือน)

 

880.00
7 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนซอยม้าขาว (หลังคาเรือน)

 

116.00
8 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนสันตยาราม (หลังคาเรือน)

 

400.00
9 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนหัวทาง(หลังคาเรือน)

 

270.00
10 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนบ้านท่านายเนาว์ (หลังคาเรือน)

 

250.00
11 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนบ้านศาลากันตง (หลังคาเรือน)

 

300.00
12 จำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่ประสบอุทกภัยชุมชนจงหัว (หลังคาเรือน)

 

259.00

ตามที่ได้มีสถานการณ์ฝนตกหนักและ เกิดภาวะอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดสตูล ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้น ตำบลพิมานเป็นอีกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมขัง น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้เกิดประชาชนในพื้นที่ติดต่อกับคลองป่าชายเลน ได้รับผลกระทบน้ำท่วมขังในบ้านหลายหลังคาเรือน ได้แก่ ชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออกชุมชนทุ่งเฉลิมสุข ชุมชนซอยปลาเค็ม ชุมชนชนาธิป ชุมชนปานชูรำลึก ชุมชนซอยม้าขาว ชุมชนสันตยาราม ชุมชนบ้านหัวทาง ชุมชนบ้านท่านายเนาว์ และชุมชนศาลากันตง สถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่เริ่มส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ประสบภัย ได้แก่ อาการไข้ อาการหวัดคัดจมูก ปัญหาน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู และคาดการณ์ว่าสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง น้ำท่วมขังและน้ำทะเลหนุนสูงจะเป็นปัญหาติดต่อกันอีกหลายวันซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสาธารณสุขที่มากับน้ำท่วมขัง เป็นวงกว้างเพิ่มมากขึ้นตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ พ.ศ. 2567 ข้อ 10(5)เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ได้ตามจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์
ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสตูล เล็งเห็นปัญหาสาธารณสุขที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม จึงขอจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจากปัญหาภาวะอุทุกภัยในพื้นที่ตำบลพิมาน ประจำปีงบประมาณ2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาอาการป่วยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม (ประมาณการอย่างน้อยครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ 650 หลังคาเรือน)

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขังได้รับการดูแลด้านเวชภัณฑ์ยาเบื้อต้น

500.00 0.00
2 เฝ้าระวังบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่ประสบภัยน้ำท่วมขัง กรณีมีความจำเป็นส่งต่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการ

ร้อยละ 100 ของบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่ประสบภัยน้ำท่วมขังกรณีมีความจำเป็นได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาพยาบาล

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คาดการณ์ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขัง 500

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรเทาสถาณการณ์ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากปัญหาน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
บรรเทาสถาณการณ์ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากปัญหาน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อยาเวชภัณฑ์เบื้องต้นเพื่อบรรเทา โรคไข้ อาการหวัด คัดนมูก อาการแพ้ ผื่นคัน ท้องเสีย น้ำกัดเท้า
1.ชุดทำแผล ปลอดเชื้อ จำนวน 500 ชุดๆละ 14 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
2.แผ่นเทปติดแผล จำนวน 25 กล่องๆละ 38 บาท เป็นเงิน 950 บาท
3.ยาลดไข้ ขนาด 500 มก. จำนวน 500 แผง ๆละ 8.5 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท
4.ยาแก้แพ้ ขนาด 2 มก. จำนวน 500 แผงๆละ 7 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
5.น้ำเกลือ ขนาด 100 มก. จำนวน 500 ขวดๆละ 27 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท
6.ยาใส่บาดแผล ขนาด 15 มล. จำนวน 500 ขวดๆละ 13.5 เป็นเงิน 6,750 บาท
7.ซิปใสสำหรับจัดยา ขนาด 20 ซม.*30 ซม. จำนวน 6 แพ็คๆละ 90 บาท เป็นเงิน 540 บาท
8.ยาทาแก้น้ำกัดเท้า ขนาด 7.5 มก.จำนวน 500 ขวดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
9.ถุงมือการแพทย์ มีแป้งเบอร์ L จำนวน 10 กล่องๆละ 115 บาท เป็นเงิน1,150 บาท
10.ถุงมือการแพทย์ มีแป้ง เบอร์ M จำนวน 10 กล่องๆละ 115 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท
11. ผลเกลือแร่แบบซอง จำนวน 2,500 ซอง เป็นเงิน 6,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาที่มีความจำเป็นในการดูแลประชาชนเบื้องต้นจากการป่วยด้วยภาวะน้ำท่วมได้ตามจำนวนที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50040.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่ประสบภัยน้ำท่วมขังกรณีมีความจำเป็นส่งต่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่ประสบภัยน้ำท่วมขังกรณีมีความจำเป็นส่งต่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กองสาธารณสุขขอความร่วมมือจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง ในการประสานให้ CG เฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยในความดูแลที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขัง กรณีต้องการความช่วยเหลือในการส่งต่อโรงพยาบาล ติดตามข้อมูลข่าวสารและประสานงานทางกลุ่มไลน์

*** ไม่ใช้งบประมาณ***

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลที่มีภาวะพึงพิงที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขังได้รับการดูแลกรณีต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,040.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมได้รับการดูแลด้านสุขภาพเบื้องต้น
2.ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงที่ประสบกับน้ำท่วมได้รับการดูแล


>