แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นายพิทักศิษย์ พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
นางสาวนัรกีส ยะปา เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โทร 083-7502735
วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุ 9 - 19 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียน เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และพฤติกรรม เป็นช่วงรอยต่อของความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ หากไม่มีความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ข้อมูลจากกรมอนามัย ในปี พ.ศ. 2566 วัยรุ่นหญิง อายุ 15 - 19 ปี คลอดบุตรรวมทั้งสิ้น 40,602 ราย หรือเฉลี่ย 111 คนต่อวัน โดยจังหวัดนราธิวาสมีจำนวน 605 ราย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุหลักของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมก่อนวัยอันควร มาจากการขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีการป้องกันตนเองในการมีเพศสัมพันธ์ และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จากข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี พบว่าเยาวชนมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 80 และใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งกับแฟนและคนรัก ไม่ถึงร้อยละ 40 จากข้อมูลสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่าโรคหนองใน และโรคซิฟิลิส พบมากที่สุดในช่วงอายุ 15 - 24 ปี รองลงมาเป็นช่วงอายุ 25 - 34 ปี จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยเรียนวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากข้อมูลกรมควบคุมโรค สถานการณ์เอชไอวีในประเทศไทย ปี 2565 พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 9,230 ราย เป็นเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี จำนวน 4,379 ราย พบผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี จำนวน 561,578 ราย เป็นเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี จำนวน 25,643 ราย และพบผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ จำนวน 10,972 ราย เป็นเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี จำนวน 237 ราย
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจและเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดสารเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก รวมถึงค่านิยมที่ไม่ถูกต้องในวัยรุ่น และในปัจจุบันสารเสพติดบางชนิดสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กระท่อม กัญชา เป็นต้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่นวัยใส ไม่เสพ ไม่ท้อง ห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวีนี้ขึ้น เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมผ่านการเรียนรู้ ช่วยให้เยาวชนเกิดความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด และปัญหาที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวี อันจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย
-
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทและโทษของยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
-
2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการป้องกันการตั้งครรภ์ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการป้องกันการตั้งครรภ์มากขึ้นขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
-
3. เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคที่ถูกวิธีตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวิธีป้องกันโรคมากขึ้นขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
-
4. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำวัยรุ่นสุขภาพดีในโรงเรียนตัวชี้วัด : เกิดเครือข่ายแกนนำวัยรุ่นสุขภาพดีในโรงเรียนขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 100.00
- 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด เพศศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย
1. ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 60 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 20 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 1 จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 10 คน
2. ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาล 4 จำนวน 60 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 4 จำนวน 20 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 10 คน
3. ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนสุไหงโก-ลก จำนวน 100 คน คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวมทั้งหมดจำนวน 330 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่งานอนามัยโรงเรียนครูผู้รับผิดชอบงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรม
- ประสานโรงเรียนเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงหารือหลักสูตรการจัดอบรมกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน
- ประสานวิทยากร และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมเนื้อหาเอกสารการจัดอบรมรวมถึงจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เพศศีกษาและอนามัยเจริญพันธุ์ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการป้องกันการตั้งครรภ์ และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ดำเนินการจัดอบรม 3 รุ่น รุ่นละ 1 วัน ดังนี้
- รุ่นที่ 1 ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 60 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 20 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 1 จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 10 คน
- รุ่นที่ 2 ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาล 4 จำนวน 60 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 4 จำนวน 20 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 10 คน
- รุ่นที่ 3 ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนสุไหงโก-ลก จำนวน 100 คน คณะทำงาน จำนวน 10 คน รวมทั้งหมดจำนวน 330 คน
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.45 - 09.00 น. เปิดโครงการ
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องประเภท โทษ และพิษภัยของยาเสพติดและยาเสพติดที่พบได้บ่อยในวัยรุ่น เช่น สุรา บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กระท่อม กัญชา ยาบ้า เป็นต้น และกิจกรรมละลายพฤติกรรมและกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมทักษะชีวิตวัยรุ่น วิทยากรโดย รพ.สุไหงโก-ลก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น. อบรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและอนามัยเจริญพันธุ์ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการป้องกันการตั้งครรภ์ วิทยากรโดย รพ.สุไหงโก-ลก
14.30 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวี และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง วิทยากรโดย รพ.สุไหงโก-ลก
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน x 3 ชม. x 600 บาท x 3 รุ่น เป็นเงิน 10,800 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (เฉพาะรร.สก.) จำนวน 100 คน x 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (คณะทำงาน) จำนวน 10 คน x 60 บาท x 3 รุ่น เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) จำนวน 300 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) จำนวน 10 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 3 รุ่น เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม เป็นเงิน 7,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,090 บาทงบประมาณ 46,490.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รวมงบประมาณโครงการ 46,490.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
- เกิดเครือข่ายแกนนำวัยรุ่นสุขภาพดีในโรงเรียน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................